วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

โครงการศึกษาธรรมะ ตลท.: เริ่มนับ ๑ นับอาจารย์สุรวัฒน์

โครงการศึกษาธรรมะของพนักงาน ตลท
เริ่มนับ ๑ กับ อ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ห้อง ๑๑๐๔ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รัชดาภิเษก
จัดโดย ชมรมปฏิบัติธรรม และสโมสรพนักงาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

หลังจากฟังเทปของหลวงพ่อปราโมชย์ อาจารย์เองก็เรียนมาจากหลวงพ่อปราโมชย์ เมื่อก่อนเราพูดถึงเรื่องการปฏิบัติธรรม เราจะได้ภาพอะไรในใจ ภาพนั่งสมาธิ ภาพสวดมนต์ใส่บาตร เราจะคุ้นเคยอย่างนี้ อาจารย์เองก็เห็นภาพนั่งสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายก็เริ่มทำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ผิด เพราะเรายังไม่รู้เลยว่าจิตชนิดไหนเพื่อให้สงบ จิตชนิดไหนใช้เดินปัญญา พอปฏิบัติแล้วได้อ่านหนังสือพระอาจารย์สายวัดป่ามีฤทธิ์มีเดช เราก็อยากมีมั่ง เลยเดินหลงทาง

ครูบาอาจารย์ก็พยายามสอนแต่อย่างไรก็ไม่เข้าใจ การศึกษาธรรมะขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา ไม่ถึงเวลาก็ไม่รู้เรื่อง พอถึงเวลาก็เจอที่ถูกจริต ยิ่งเรามาทำงานวิ่งวุ่นทั้งวัน กลับบ้านก็เหนื่อย ก็เข้าสมาธิระดับฌานยังไม่ได้ แต่ต่อให้ได้ก็ไม่ใช่วิธีการในการดับทุกข์

สมัยพระพุทธเจ้าท่านก็ไปเรียนกับอุทกดาบส และอาฬารดาบส ท่านเรียนฌานสมาบัติแป๊บเดี๋ยวก็จบ ฌานสมาบัติมีมานานก่อนพุทธศาสนา แต่พระพุทธเจ้าก็เห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ท่านก็เอามาสอนเป็นพุทธศาสนา

อาจารย์ก็พยายามนั่งสมาธิมา ๑๑ – ๑๒ ปี ได้อย่างเดียวคือฟุ้ง นั่งพยักหน้าทำความเคารพตลอด จนกระทั่งได้เจอครูบาอาจารย์ หลวงพ่อไวย (?) ทำสมาธิลึกๆ ไม่ได้ ก็อยากได้แต่สมาธิลึกๆ นั่งหลับ นั่งฟุ้ง ก็อยากให้สงบก็ไปบีบไปคั้นมัน จนมีความรู้สึกว่ามีอะไรหนักๆ ในหัว นั่นคืออาการเครียด เพราะอยากให้มันสงบก็ไปบังคับมัน พอนั่งให้สบายๆ หน่อยก็หลับ จิตมันไม่เอาอะไรแล้ว

ตอนหลังมาเล่นอินเตอร์เน็ต ก็ไปเจอเวบไซต์ลานธรรม มีคนมาคุยธรรมะ เจอกระทู้คุณสันตินันท์ post ลงลานธรรม ค่อยๆ อ่าน รู้สึกว่าใจมันเบาสบาย เพราะท่านสอนให้มีสติ ให้รู้ ก็เริ่มเอะใจว่า ที่ทำมาไม่น่าจะใช่ พยายามทำตามแต่ไม่สำเร็จ ก็เลยไปเจอตัวจริง ตัวเป็นๆ โดยเริ่มจากเขียนอีเมล์ไปถามก่อน วันต่อมาท่านตอบมาว่า ที่ทำมาอยู่นะผิด นั่งตัวชาอยู่หน้าจอ เหมือนถูกตีแสกหน้า ทำมา ๑๐ กว่าปีนั่นผิด บางคนอาจไม่ยอมรับ แต่อาจารย์กลับอยากรู้ว่า ทำไมถึงผิด ท่านก็ตอบว่า เป็นการทำเพราะความอยาก ซึ่งความอยากเป็นสมุทัย สาเหตุแห่งทุกข์ ก็เลยทำให้เกิดความทุกข์ ดังนั้นก็จะพ้นทุกข์เป็นไปไม่ได้หรอก พออ่านจบ ก็ฟังได้นะ เป็นไปตามหลักเหตุผล หัวมันโล่งออกมาเลย รู้ว่าจิตใจเราไม่เหมือนเดิมแล้ว เลยคิดว่าน่าจะเป็นทางที่น่าปฏิบัติดู ก็ปฏิบัติมาอีกระยะนึง แต่ด้วยความเคยชิน จิตมันก็ไปตามนั่น

ฝึกให้คิดๆๆๆ จิตมันก็คิดๆๆๆ ด้วยความเคยชิน มันก็เป็นอย่างนั้น พยายามอยู่หลายวันก็ไม่โล่ง เลยไปเจอที่ศาลาลุงชิน ตอนนั้นท่าน (หลวงพ่อมาโมชย์) ยังไม่ได้บวช ก็ไปเดินถามกรรมการศาลาไม่มีใครรู้จัก มองเห็นเด็นวัยรุ่นนั่งล้อมวงอยู่วงนึง ก็เดินเข้าไปถามว่าใช่คุณสันตินันท์หรือเปล่า ก็เข้าไปแนะนำตัว บอกว่าที่เขียนอีเมล์ไปถาม ท่านก็พยักหน้าว่าจำได้ ท่านบอกให้นั่งลง ยังไม่นั่งลงเลย ท่านก็บอกว่า สุรวัฒน์ยังรู้สึกตัวไม่เป็นนะ เท่านั้นหน่ะก็เหมือนรู้สึกตัวเหมือนคนมาปลุกให้เราตื่นจากหลับมานานแสนนาน ก็โล่งมาแวบนึง เลยเป็นจุดเริ่มต้นมาเรียนแบบจริงๆ จังๆ ซึ่งท่านก็สอนให้รู้สึกตัวเป็นเบื้องต้น ถึงไปเจริญปัญญาเป็นลำดับไป
เริ่มที่หัดรู้สึกตัวให้เป็น หัดนับหนึ่งก็หัดเรียนรู้ตัวเองก่อน ตอนนี้จะตัดเรื่องศีล ทาน ออกไปก่อนเพราะเราพร้อมกันอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ได้ก็เริ่มซะวันนี้ ศีล ๕ ส่วนใหญ่จะยากข้อ ๔ ไม่ต้องไปเครียดมาก ให้ดูที่เจตนา พูดอะไรก็เลี่ยงๆ ได้ เพราะเราอยู่ในสังคม รักษาศีลของเราไป นึกได้มีสติ ศีลเราก็จะดี
มีไหมที่ชอบบี้มด ตบยุง ไม่เป็นไร เวลาเราผิดศีลไปแล้วทำอย่างไร เราต้องระลึกให้ได้ว่าเราทำผิดศีลไปแล้ว ที่ผ่านแล้วก็แล้วไป ถ้านึกแล้วเศร้าหมองเท่ากับทำผิดซ้ำสอง ทำผิดแล้วก็แล้วกันไปก็ก้มหน้ารับวิบากกรรมกันไป อย่าไปทำผิดซ้ำลงไปเยอะเยอะ เบื้องต้นผิดศีลกันธรรมดา รู้ทันบ่อยๆ ก็จะพัฒนาขึ้นมา ศีลก็จะดีขึ้น รักษาศีลดีที่สุดก็คือการมีสติ

นับ ต้องเริ่มจากมีสติ คือ ฝึกรู้ตัวกันไป หัดรู้สึกตัว มีพุทธพจน์ยืนยัน สติเป็นสิ่งจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ถ้าไม่มีสติจะพัฒนาไปรู้การเป็นพุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ได้ ดังนั้น เราไม่ต้องไปหัดอย่างอื่นให้วุ่นวาย ถ้าได้สติเราจะได้สัมมาสมาธิไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อเรามีศีล ศีลจะทำให้เรามีสติขึ้นมา เมื่อเรามีสติขึ้นไป เราจะมีความรู้สึกระงับยับยั้ง ดังนั้นเรามาเรียนมาตรงนี้ก่อน


คำว่า สติ เป็นคำที่ไม่สามารถเข้าใจได้ง่าย เราเข้าใจว่ามีสติ แต่เวลาไปฝึกกับครูบาอาจารย์บอกว่า ไม่มีสติ คือ สติทางโลก กับสติทางธรรมนั้นต่างกัน ถ้ามีสติไม่ฟั่นเฟือน วิกลจริต ก็คือเรามีสติในทางโลก แต่ในทางปฏิบัติธรรม ถ้าเรารู้สึกอยู่ที่กาย ใจ ตัวเอง ถ้ารู้สึกอยู่ข้างนอกก็ถือว่าไม่สติแล้ว  เวลาเราดูละคร จิตเราอยู่ที่ไหน จิตเราอยู่ที่จอทีวี ไม่รู้ตัวว่าเรานั่งอยู่ รู้ในทีวีหมด ละครใช้ชุดอะไรจำได้หมด อันนี้ไม่มีสติ อย่างขับรถบางทีก็ขับรถฝ่าไฟแดง เพราะมัวแต่สนใจเรื่องอื่น เราจะรู้เรื่องภายนอก อย่างนั่งฟังนี้ จิตใครหนีกลับบ้านไปแล้ว นี้คือ จิตหนีไปแล้ว

สติ คือ รู้อยู่กับตัวเอง รู้กาย รู้ใจ คำต่อไปที่ต้องเรียนรู้คือสมาธิ สมาธิไม่ได้แปลว่า จิตนิ่งเฉย ไม่ใช่สมาธิที่เจริญปัญญา แต่เพียงแค่สมาธิเพื่อพักผ่อนเท่านั้น เพราะไม่รู้เนื้อรู้ตัว ถ้าจิตเราตั้งมั่นเราจะไม่หลงไปเกาะกับสิ่งนั้น ดังนั้นสมาธิ คือภาวะที่จิตตั้งมั่น

เบื้องต้นก็คือการฝึกให้มีสติ และสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิที่นำไปใช้ในการเจริญปัญญา วันนี้จะมาฝึกสมาธิในแบบนี้เพื่อเจริญปัญญาได้
ส่วนอีกคำที่ต้องเข้าใจอีกคำ คือ สมถ ภาษาไทย แปลว่า สันโดษ มักน้อย แต่ สมถ แท้จริงแปลว่า จิตที่มีความตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว ต่อเนื่อง ถ้าเป็นวิปัสสนา จิตจะไม่รู้อารมณ์เดียวต่อเนื่อง เดี๋ยวก็เห็นจิตโกรธ เดี๋ยวก็เห็นจิตหลง เดี่ยวก็เห็นหายใจเข้า หายใจออก เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเห็นเหมือนๆ กันหมดเลยว่า จิตไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนที่เราสั่งได้ บังคับได้ เห็นอย่างนี้เรียกว่าเราเห็นไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ของรูปนาม กายใจของตนเอง นี้เป็นการเจริญวิปัสสนา
การคิดๆ ไม่ใช่วิปัสสนา จะกลายเป็นวิปัสสนึก

เราจะฝึกทำความรู้สึกตัว ฝึกอย่างไรดี ในชีวิตประจำวันเราก็ต้องฝึก ไม่ใช่รอกลับบ้าน ไอ้อย่างนั้นเรียกว่าการฝึกในรูปแบบ เราชอบสวดมนต์ ก็สวดมนต์ ชอบเดินจงกรมก็เดินจงกรม กำหนดไปเลยว่าทำวันละกี่นาทีก็แล้วแต่เราสะดวก  เวลาทำในรูปแบบ เป็นเวลาอยู่กับตัวเอง ปิดให้หมดทีวี มือถือ

หนังสือ ๒ เล่มก็ลองอ่านดู อ่านแล้วฝึกไปเรื่อยๆ ทดลองเลือกรูปแบบไหน


การฝึกในชีวิตประจำวัน เราก็ต้องฝึกตั้งแต่ตื่นนอนเลย สิ่งที่เราฝึกก็คือสติก่อน ก็ฝึกรู้สึกตัว เราอาจไม่รู้สึกการรู้สึกตัวที่แท้จริงเป็นอย่างไร เราต้องดูว่าเวลาเรารู้สึกตัวเป็นอย่างไร ขาดสติเผลอไปเป็นอย่างไร ถ้าเรารู้ว่าเราเผลอเป็นอย่างไร เราก็จะมีสติขึ้นมา เป็นวิธีการง่ายๆ ว่าเมื่อครู่เราเผลอไป ลืมตัวไป ถ้าเรานึกได้ แว่บนั่นเราจะกลับมามีสติแล้ว จิตจะกลับมาโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องรักษา ให้รู้ว่าเราเผลอบ่อยๆ เราก็จะมีสติบ่อยๆ

ฝึกยากไหม สังเกตออกไหม เวลาดูภาพบนจอ จิตเราไปอยู่ที่จอเห็นไหม เวลาเผลอ ขาดสติ ใจหนีไปคิด พอเรานึกได้ เราจะรู้สึกว่าเราหายไปจากโลกนี้ จิตควรอยู่ที่ตัวเอง แต่กลับอยู่ข้างนอก  มีบุคคลกลุ่มเดียวที่มีสติตลอดเวลานั่นคือพระอรหันต์ ส่วนพวกเรายังเป็นหันซ้ายหันขวาอยู่ เราก็หัดดูว่าเราลืมตัวอีกแล้ว
เราลืมตัวกับอะไรบ้าง ตัวดีเลยก็คือความคิด เวลาคิดก็ไหลไปในโลกแห่งความคิด เมื่อไหร่คิด มีภาพในหัว ตอนนั้นขาดสติทางธรรมไปหมดแล้ว นั้นความคิดสำคัญเพราะเห็นบ่อย อีกอันนึงคือ ไหลไปทางตา เวลาดูละครก็ดู จิตไหลไปในทีวี เราลืมอะไรไปหมด แม้ว่าอะไรอยู่ข้างทีวีเราก็ไม่รู้ จิตมันไหลไปกับภาพที่มองเห็น

หรือใครชอบฟังเพลง จมูกได้กลิ่น ก็เป็นลักษณะที่จิตลืมตัว หรือเวลากินกะไรอร่อยๆ กินไป ๒๐ คำแล้ว นึกขึ้นมาได้ แน่นท้องไปหมดแล้ว หัดสังเกตในชีวิตประจำวัน
หรือเดินมาแดดร้อน ใจมันหนีไปคิดอะไรหมดแล้ว เรามาหัดดูตรงนี้แล้วเราจะมีสติขึ้นมา

ที่น่ากลัว คือ กิเลส มี ๓ ตระกูล ราคะ/ โลภะ โทสะ โมหะ เมื่อไหร่เราขาดสติ กิเลสก็จะเกิดขึ้นมา ถ้าเราหัดดูจิตที่มีกิเลสได้ เราก็จะมีจิตขึ้นไป หัดอยู่อย่างนี้ มีเรื่องในชีวิตประจำให้ดูให้หัดกัน

เวลาหัดดู ก็ในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน เมื่อไหร่ที่ความรู้สึกตัวเองหายไป เมื่อไหร่ก็ขาดสติแล้ว แม้เวลาฟังธรรมก็ดูได้นะ เวลาหนีไปคิด เราจะไม่ได้ยินเสียง ก็แสดงว่าลืมตัวไป เราหนีไปคิด ต้องหัดดู พวกเราจะหัดดูความคิดได้ง่าย

ฝากการบ้าน ๑ ข้อ เวลาเข้าห้องน้ำลองดูตัวเองในกระจกจิตอยู่ที่ไหนแน่ ร้อยละร้อย จิตอยู่ในกระจกหมดเลย เช่น เห็นสิวเม็ดนึง เราก็วิ่งไปคาอยู่ในกระจก จิตไปอยู่ข้างนอก พอหันหลังกลับมา จิตมารู้ตัว มารู้ตัวบ่อยๆ

เวลาคิดเรื่องงานก็ปล่อยให้มันคิด แล้วเราก็หัดในชีวิตปกติ ครูบาอาจารย์บอกว่าวัดอยู่ที่ใจ ต่อไปจากนี้ไปสังเกต ให้กลับมารู้สึกตัวบ่อยๆ เหมือนเวลาคุยโทรศัพท์ จิตมันก็ไปอยู่กับเรื่องที่คุย ก็ลืมเรื่องอื่น ยิ่งเวลาขับรถ จิตเผลอออกไปก็จะเหยียบเบรกไม่ทัน

ถ้าเราไม่หัดรู้สึกตัว เราก็จะเผลอ ขาดสติตลอดวัน ตั้งแต่เช้าจนถึงเข้านอน ถ้าเราฝึกเราจะกลับมารู้ตัวตัวได้บ่อยขึ้น ยากไหม พูดไม่ออก บอกไม่ได้ว่าง่ายหรือยาก

ที่ยากเพราะเราพยายามที่จะไม่ลืมตัว จริงๆ ก็ปล่อยเผลอไป รู้สึกตัวขึ้นมา  เหมือนเวลาดูทีวี จิตเราก็ไปอยู่ในจอ จะรู้ตัวขึ้นมาก็เวลาทีวีตัดโฆษณา ก็จะรู้ตัวขึ้นมาว่าจิตไหลไปในทีวี

เมื่อไหร่รู้ตัวได้ ก็จะกลับมามีสติ เรียกว่า เป็นจิตของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่ใช้เจริญปัญญาขึ้นมาได้ แต่ในที่นี้เราก็เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแค่แว่บเดียว เดี๋ยวก็หาย เดี๋ยวก็หลง เห็นไปเรื่อยๆ เมื่อไหร่จิตมันแจ่มแจ้ง รู้ความจริงขึ้นไป หยุดหลง ขึ้นมา ก็จะบรรลุ แต่ยังไม่ต้องพูดถึงนิพพาน เดี๋ยวจะท้อแท้

ถ้าเราไม่พัฒนา จิตของเราก็มีแต่ตกต่ำ เพราจิตของเราเหมือนน้ำ จิตไม่ไหลทวนขึ้นมา เราอย่าปล่อยให้จิตไหลลงต่ำ ถ้าเราฝึกจิตไว้ก็เหมือนมีอะไรมาหนุนทวนขึ้นมาได้ เราจะมีปัญญาเกิดขึ้น และเราก็จะพ้นทุกข์หลุดออกไปได้ ไม่ต้องมาเกิดใหม่อีก

จิตที่ไหลลงต่ำไปที่ไหน ก็ไปอยู่ในภพภูมิอบาย จิตจะต่ำไปเรื่อยๆ รักตัวเองก็ตั้งใจฝืนกันหน่อย เราเป็นชาวพุทธเราต้องฝึกตัวเองขึ้นมาได้ พอฝึกเราก็จะเห็นว่าง่ายขึ้นมา อย่าฝืนจิตเอาไว้ เวลาจิตหลงรู้สึกว่าน่ากลัว ส่วนใหญ่พยายามรักษาสติ กลายเป็นเคร่งเครียด ต้องอยู่กับปัจจุบัน ลืมอีก ก็รู้เอาใหม่อีก ฝึกได้จริงหรือเปล่าค่อยว่ากัน

ต่อไปเป็นเรื่องสำคัญแล้ว เวลาฝึก จิตเรามีกิเลสเกิดตลอดเวลา เวลามีคนชวนไปวัด เคยได้ยินคนตอบว่า รอให้หมดกิเลสก่อน ถึงตอนนั้นก็ไม่ต้องไปวัดแล้ว เพราะมีกิเลสเราเลยต้องเข้าวัดไปฝึกหัด ขัดเกลากัน
ตอนที่เราลืมตัว กิเลสชวนไปทำกรรมชั่ว หน้าที่ของกิเลสชวนให้เราไปทำกรรมชั่ว กิเลสชวนไปทำกรรมดีก็มีนะ คือ อยากรวย เลยไปเข้าวัดทำบุญ แต่ทำแล้วไม่รวยสักทีก็โกงเอาดีกว่า ดังนั้นกิเลสมันพลิกไปทำกรรมชั่วได้ เมื่อเราทำกรรมชั่วไป เราก็รับวิบากกรรมไป ไม่ต้องไปแก้กรรม ไม่มีใครแก้ได้ พระพุทธเจ้ายังต้องชดใช้กรรม มีตอนนึงที่พระพุทธเจ้าอยากกินน้ำ ให้พระอานนท์ไปตัก พระอานนท์ไปตักเห็นน้ำขุ่นก็เลยบอกพระพุทธเจ้าว่าน้ำขุ่นเลยไม่ตักมา พระพุทธเจ้าก็ให้พระอานนท์ไปตักใหม่ น้ำใสจึงตักขึ้นมาถวาย พระพุทธเจ้าเลยเทศน์ให้ฟังว่า มันเป็นผลกรรมของพระพุทธเจ้า สมัยเป็นหัวหน้าพ่อค้าต้อนสัตว์เลี้ยงไปกินน้ำ แต่พอดีขบวนเกวียนผ่านมา น่ำขุ่น ท่านก็ต้อนสัตว์เลี้ยงขึ้นไม่ให้กินน้ำขุ่น แค่นี้ก็เป็นวิบากกรรมที่ท่านต้องชดใช้ ดังนั้นอย่าไปเชื่อว่าใครจะเก่งกว่าพระพุทธเจ้า แก้กรรมให้เราได้ เราก็ใช้หนี้ไปแบบมีสติ จะได้ไม่เร่าร้อน


กิเลสก็เป็นวิบากอย่างหนึ่ง หัดดูหัดรู้ว่าจิตใจเรามีกิเลสเกิดขึ้น สำรวมกาย วาจา ใจ ไว้ก่อน โกรธก็สำรวมมือไม้ไว้ก่อน สีหน้าแสดงได้ตามสมควรเพราะปิดไม่มิด เวลาโกรธมันจะออกสีหน้า แววตา ไม่ต้องไปฝืนขนาดนั้น แล้วก็ดูจิตที่มีกิเลสซะ ถ้ามันแรงไม่ไหวจะลุกขึ้นตบก็ใช้วิธีลุกออกไปจากสิ่งแวดล้อมตรงนั้น ให้ใจคลายไปก่อน เราต้องใช้วิธีหลบกันเพราะเรายังฝึกไม่พอ ถ้าหลบไม่ได้ กลยุทธ์อะไรมีที่ทำให้สำรวมกายใจก็นำออกมาใช้ก่อน เช่น อาจารย์ตอนเด็กๆ พ่อแม่ให้นับ ๑ ถึง ๑๐ หากนับร้อยนับพันยังไม่หาย ก็หันไปสนใจเรื่องอื่น หรือหันไปคิดเรื่องบวกไว้ก่อนเลย แต่เรื่องคิดบวกก็ช่วยได้เป็นกรณีเป็นครั้งคราวไป ไม่ถาวรแต่ช่วยได้ชั่วครั้งชั่วคราว

แต่ถ้าเรามีสติ เราดูลงไปเลย ดูจิตที่มีกิเลสนี่แหละ เดี๋ยวมันก็วึ้บหายไปกับตานี้ ถ้าใครเคยดูนะ เวลาโกรธมันจะขึ้นมาเร็วมากเลย เหมือนไม้ขีดไฟ ที่จุดปุ๊บลุกฟู้ขึ้นมาเลยแล้วก็ค่อยๆมอด ค่อยมอดๆ ดับไป ต่อหน้าต่อตาเลย
พระพุทธเจ้าสอนให้ดูถึงจิตใจตนเอง ทุกสิ่งเกิดมาย่อมมีดับได้ ไม่ได้อะไรเที่ยงแท้ถาวร เวลาเรามีกิเลสเราเรียนรู้มันได้ อาศัยกิเลสนี่หล่ะเป็นเครื่องขัดเกลาตนเอง เราพอพิจารณาไปก็จะเห็นว่าเราเปลี่ยนไป ลองดูนะคนที่มาเรียนวิธีนี้ ไปบอกหลวงพ่อประจำว่า ตนเองเปลี่ยนแปลงไป

อีกอย่างเวลาในชีวิตประจำวัน เรื่องของความเจ็บปวด ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น จิตมันทุรนทุราย ยอมรับไม่ได้ เพราะจิตไปจมแช่เวทนาที่เกิดขึ้น แล้วปรุงแต่งเวทนาที่เกิดขึ้น เวลาเราสู้ไม่ไหวอย่างไปดูมัน ตอนปวดหัวดูก่อนว่าเป็นไง ไม่ต้องสู้มัน ไปหยิบพารามา 2 เม็ด แล้วค่อยดูว่าอาการเวทนาที่ค่อยๆ คลายทางกาย แล้วดูสิว่าจิตใจของเราเป็นอย่างไร จิตมีความสุขขึ้นมาแล้ว จะเห็นว่าจิตใจเราเปลี่ยนแปลงเกิดดับตลอดเวลา

เวลาทุกขเวทนาทางกายมีการรักษาทางการแพทย์ก็รักษาไป ไม่ใช่ฝืนทน เป็นการเบียดเบียนตนเอง รักษาไป ดูจิตดูใจไป ดูเวทนาไป พระพุทธเจ้าสอนให้ดูเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็จบไป

พระอาจารย์บางท่านสอนให้ดูเวทนาไป เวลานั่งแล้วชา ดูไปเรื่อยๆ อาการชามันก็หายแว๊บไป แต่น้อยคนจะทำได้อย่างนั้น ส่วนใหญ่ไม่รอด หากเราอดทนดูเวทนาไม่ได้ ก็เปลี่ยนท่า ค่อยๆ ยกขา จะเห็นเลยมาชามันหายไป จิตสบายใจขึ้น เห็นไตรลักษณ์ เห็นการเปลี่ยนแปลงกาย ใจ ก็เหมือนเป็นแต้มไปเรื่อยๆ ปัญญาก็จะเริ่มพัฒนา (เวทนาเปลี่ยน กายเปลี่ยน จิตเปลี่ยน)
มีหลากหลายวิธีการ แต่มีพื้นฐานเหมือนกัน คือ มีสติ มีจิตตั้งมั่น แล้วก็ทำไป
เวลาฝึกสติ มีผลพลอยได้ ก็คือ มีการสติแบบอัตโนมัติ มีสติเกิดขึ้นได้เอง เราสามารถรักษาได้อย่างดีมาก มีองค์ประกอบผิดศีล แต่สติระลึกได้ไม่ทำ เกิดเป็นอินทรีย์สังวรศีลเกิดขึ้น
เวลามีสติรู้ตัวบ่อยๆ จะมีปกติสุขมากขึ้น แค่มากขึ้นเพราะเรายังมีวิบากอยู่ ตรงนี้แหละที่เรียกว่า สติเป็นเครื่องคุ้มครองจิต เอาไปใช้เวลามีเรื่องหนักๆ เกิดขึ้นได้ เวลาพิสูจน์ชัดเจน เวลาเกิดอุบัตเหตุ เวลารถจะชนเกิดภาพสโลว์โมชั่น มันจะทำให้จิตกับมาตั้งมั่น มีสติ แต่ถ้าถึงเวลาก็ช่วยไม่ได้นะ
เวลาเราทำงาน ก็จะช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้น เสร็จเร็วขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น

ฝึกสติบ่อยๆ  ทางโลกเราก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในทางธรรม เอาจิตที่ตั้งมั่น เป็นสัมมาสมาธิเอาจิตมาเรียนรู้ตนเอง รู้ไตรลักษณ์ของตนเอง


หมายเหตุ: ไม่ได้ถอดความแบบ Word By Word

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สตีฟ จอบส์ กับการดำเนิน ชีวิตตามหลักพุทธศาสนา





วิถีแห่งเซน ' ของสตีฟ จอบส์ ซีอีโอแสนล้านค่าย Apple ยักษ์ใหญ่วงการคอมพิวเตอร์
แม้จะเป็นนักธุรกิจร่ำรวยระดับแสนล้าน แต่ไม่ว่าจะปรากฏกาย ณ ที่แห่งใด หรือแม้แต่ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Apple คนทั่วไปมักชินตากับภาพ สตีฟ จอบส์ ในชุดแต่งกายเรียบง่าย สวมเสื้อยืดคอเต่าแขนยาวสีดำ ยี่ห้อ St. Croix กางเกงยีนส์ลีวายส์ รุ่น 501 และสวมรองเท้ากีฬายี่ห้อ New Balance รุ่น 992 เป็นประจำ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของเขา

สตีฟ จอบส์
หรือ สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน ซีอีโอใหญ่แห่งค่าย Apple Inc. ยักษ์ใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกของโลก รวมทั้งเป็น ผู้บริหารระดับสูงของค่ายพิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ( Pixar Animation Studios) ด้วย

กว่าจะถึงวันนี้ ชีวิตของซีอีโอใหญ่ได้เผชิญปัญหามานับครั้งไม่ถ้วน แต่ด้วยหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนานิกายเซน ที่เขาได้ศึกษาเรียนรู้ ช่วยให้เขาก้าวผ่านอุปสรรคทั้งปวงมาได้


ชีวิตช่วงแรก ไม่ได้ปริญญา แต่ได้วิชา
เริ่มสนใจศึกษาพุทธศาสนา


สตีเฟน พอล จอบส์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1955 ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรนอกสมรสของนักศึกษาสาวมหาวิทยาลัย กับศาตราจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ มารดาแท้ๆ ยกเขาให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ครอบครัวจอบส์ซึ่งมีหัวหน้าครอบครัวเป็นช่างเครื่อง โดยขอสัญญาว่า บุตรชายของเธอจะต้องได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย

เมื่อโตขึ้นจอบส์เข้าศึกษาต่อที่ Reed College ในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ได้เพียง 6 เดือน ก็ลาพักเรียน เพราะไม่เห็นความน่าสนใจของสิ่งที่เขาเรียนอยู่ แต่เขาก็กลับเข้าศึกษาใหม่อีก 1 ปีครึ่ง โดยลงเรียนเฉพาะ คอร์สที่เขาสนใจ เช่น การประดิษฐ์ตัวอักษร ( ซึ่งภายหลังเขาได้นำไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบตัวพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ Macintosh) หลังจากนั้น เขาหยุดเรียนถาวรและไม่ได้ศึกษาจนจบมหาวิทยาลัยตามที่มารดาแท้ๆ ของเขาหวังไว้


ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยนี้เองที่จอบส์เริ่มหันมา ศึกษาพุทธศาสนานิกาย เซน เขาสนใจอ่านวรรณกรรมทางพุทธศาสนาหลายเล่ม และหนังสือที่มีอิทธิพล สูงสุดกับเขาคือ Zen Mind, Beginner’s Mind ซึ่งเขียนโดยชุนริว ซูซุกิ กล่าวกันว่า หลังการศึกษาหลักธรรมของเซน จอบส์เริ่มมีความเชื่อว่า การหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณนั้น ก่อให้เกิดปัญญา
เขาจึงเริ่มฝึกสมาธิในห้องนอนแคบๆ ที่แชร์ร่วมกับแดเนียล คอตคีเพื่อนสนิท ท่ามกลางกลิ่นธูป

ออกแสวงหาตัวตนที่แท้จริง


ในปี 1974 จอบส์ ในวัย 19 ปี ได้ขอลาพักงานประจำ ที่เขาทำอยู่ในบริษัทเครื่องเล่นวิดีโอเกมส์ Atari เพื่อเดินทางไปอินเดีย เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมกับเพื่อนรักแดเนียล คอตคีเพื่อแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับการรู้แจ้งเห็นจริงด้านจิตวิญญาณ และเมื่อเดินทางกลับสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง เขาได้กลายเป็นพุทธศาสนิกชน สวมเสื้อผ้าแบบอินเดียโบราณและโกนศีรษะ

หลังจากนั้น เขาได้แวะเวียนไปที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส ในเมืองลอส อัลทอส รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นประจำ ที่นี่เขาเริ่มฝึกการบำบัดแบบกรีดร้องดังๆ และรับประทานผลไม้เป็นอาหาร และผลไม้ที่เขาโปรดปรานเป็นพิเศษก็คือ แอปเปิ้ล นั่นเอง

ในปี 1976 ขณะอายุ 21 ปี จอบส์ได้เข้าทำงานกับบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด และเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนานิกายเซนอย่างจริงจังกับโกบุน ชิโนะ โอโตโกวะพระอาจารย์ชาวญี่ปุ่น ที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส (ซึ่งภายหลัง เมื่อจอบส์เข้าพิธีแต่งงานแบบเซน กับลอรีน เพาเวลในวันที่ 18 มีนาคม 1991 พระอจารย์โอโตโกวะได้มาเป็นประธานในพิธี)


เริ่มก่อตั้งบริษัท Apple
ดีไซน์สินค้าด้วยแนวคิดเซน


ในปี 1976 จอบส์และเพื่อนสมัยเรียนที่ชื่อสตีฟ วอซเนียกได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Apple Computer ขึ้นที่โรงรถในบ้านของจอบส์ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่จอบส์กับวอซเนียกได้นำเสนอออกสู่สายตา ได้แก่เครื่อง Apple I และเพียง 10 ปีให้หลัง Apple ก็เติบโตจากคนเพียง 2 คนกลายเป็นบริษัทใหญ่โตที่มีมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ และพนักงานมากกว่า 4,000 คน!!

จอบส์เคยกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Wired ของอเมริกาว่า มีคำคำหนึ่งในศาสนาพุทธ คือ จิตของผู้เริ่มต้น มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะมีจิตของผู้เริ่มต้นซึ่งเขาอธิบายต่อไปว่า มันเป็นจิตที่มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง ซึ่งค่อยๆทำให้เราตระหนักถึงแก่นแท้ของสิ่งเหล่านั้น จิตของผู้เริ่มต้น ก็คือการนำหลักการของเซนมาปฏิบัติจริง เป็นจิตบริสุทธิ์ที่ปราศจากอคติ การคาดหวัง การตัดสิน ความลำเอียงให้คิดว่า จิตของผู้เริ่มต้น เป็นเหมือนจิตของเด็กน้อย ซึ่งเต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ความสงสัย และความ ประหลาดใจ

ด้วยความเชื่อดังกล่าว สตีฟ จอบส์ จึงนำแนวคิดแบบเซนมาใช้กับบริษัท
Apple Inc ของเขา ในการออกแบบรูปลักษณ์และการใช้งานของสินค้าให้มีแนวทางบริสุทธิ์ ครบถ้วนสมบูรณ์ และง่ายต่อการใช้งาน

พบมรสุมชีวิต แต่พิชิตด้วยความรักในงาน


เมื่อจอบส์อายุ 30 ปี หลังจากเพิ่งเปิดตัว Macintosh เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดของตัวเองได้ปีเดียว เขาถูกไล่ออกจากบริษัทที่ตนเองเป็นผู้ก่อตั้ง หลังจากทะเลาะกับผู้บริหาร และกรรมการบริษัทก็เข้าข้างผู้บริหารคนนั้น

เรื่องนี้เป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ในชีวิตของเขา จอบส์กล่าวว่า เขาได้สูญเสียสิ่งที่ได้ทำมาตลอดชีวิตไปในพริบตา ถึงกับคิดจะออกจากวงการคอมพิวเตอร์ไปชั่วชีวิต เขาไม่ได้ทำอะไรหลังจากนั้นอีกหลายเดือน

แต่แล้วความรู้สึกอย่างหนึ่งก็สว่าง ขึ้นข้างในตัวของจอบส์ ซึ่งเขาค้นพบว่า ตัวเองยังคงรักในสิ่งที่ทำมาแล้ว ความล้มเหลวที่ Apple ไม่อาจเปลี่ยนแปลงความรักที่เขามีต่อสิ่งที่ได้ทำมาแล้วได้ ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งต่อมาเขาได้พบว่า การที่เขาถูกไล่ออกจาก Apple ได้กลายเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นในชีวิต เพราะภาระอันหนักจากการประสบความสำเร็จในอดีตที่เขาแบกไว้นั้น ได้ถูกแทนที่ด้วยความเบาสบายในการเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ซึ่งช่วยปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระ นั่นก็คือเขาได้ปล่อยวางความสำเร็จเก่านั้นลง และเริ่มต้นใหม่ด้วยใจที่เบาสบาย เบิกบาน เป็นจิตของผู้เริ่มต้นอย่างที่เขาเคยบอกไว้นั่นเอง

จอบส์กล่าวว่า ความล้มเหลวเป็นยาขม แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไข้ เมื่อชีวิตเล่นตลกกับคุณ จงอย่าสูญเสียความเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณรัก ดังนั้นคุณจะต้องหาสิ่งที่คุณรักให้เจอ เพราะวิธีเดียวที่จะทำให้คุณเกิดความพึงพอใจอย่างแท้จริง คือการได้ทำในสิ่งที่คุณเชื่อว่ามันยอดเยี่ยม และวิธีเดียวที่จะทำให้คุณสามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ก็คือ คุณจะต้องรักในสิ่งที่คุณทำ และถ้าหากคุณยังหามันไม่พบ อย่าหยุดหาจนกว่าจะพบ และคุณจะรู้ได้เองเมื่อคุณได้ค้นพบสิ่งที่คุณรักแล้ว

หลังจากนั้น เขาได้เริ่มตั้งบริษัทใหม่ชื่อ NeXT และ Pixar ( ซึ่งขณะนี้เป็นสตูดิโอผลิตการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก) ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนจากคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องแรกของโลกนั่นคือ Toy Story

ส่วน Apple ซึ่งไร้เงาของจอบส์นั้น ไม่ได้เฟื่องฟูขึ้นเลย ดังนั้นบริษัทฯจึงได้หันมาซื้อบริษัท NeXT เพื่อทำให้จอบส์ได้กลับคืนสู่ Apple อีกครั้ง รวมทั้งเทคโนโลยีที่เขาคิดค้นขึ้นที่ NeXT ก็ได้กลายเป็นหัวใจในยุคฟื้นฟูของ Apple


ใช้การเจริญมรณสติทุกวัน
เป็นเครื่องมือช่วยการตัดสินใจในชีวิต


เมื่ออายุ 17 ปี จอบส์ประทับใจข้อความหน่งที่เขาได้อ่านจากหนังสือ ซึ่งสอนให้ทุกคนมีชีวิตอยู่โดยคิดว่า วันนี้ เป็นวันสุดท้ายของชีวิต และตลอดชีวิตที่ผ่านมา เขาจะถามตัวเองในกระจกทุกเช้าว่า ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายในชีวิตของเขา เขาจะยังคงต้องการทำสิ่งที่กำลังจะทำในวันนี้หรือไม่ ถ้าหากคำตอบเป็นไม่ติดๆ กันหลายวัน เขาก็รู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาจะต้องเปลี่ยนแปลง

จอบส์เล่าว่า วิธีคิดว่าคนเราอาจจะตายวัน ตายพรุ่ง เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเท่าที่เขาเคยรู้จักมา ซึ่งได้ช่วยให้เขาสามารถตัดสินใจครั้งใหญ่ๆ ในชีวิตได้ เพราะเมื่อความตายมาอยู่ตรงหน้า แทบทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวังของคนอื่น ชื่อเสียงเกียรติยศ ความกลัวที่จะต้องอับอายขายหน้าหรือล้มเหลว จะหมดความหมายไปสิ้น เหลือไว้ก็แต่เพียงสิ่งที่มีคุณค่ามีความหมายและความสำคัญที่แท้จริงเท่า นั้น


วิธีคิดเช่นนี้ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะช่วยให้คุณไม่ตกลงไปในกับดักความคิดที่ว่า คุณมีอะไรที่จะต้องสูญเสีย เพราะความจริงแล้ว เราทุกคนล้วนมีแต่ตัวเปล่าๆ ด้วยกันทั้งนั้น


จอบส์พูดถึงความตายว่า กลางปี 2004 เขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนชนิดรุนแรงและไม่มีทางรักษา เขาจะมีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 3-6 เดือน แพทย์ที่รักษาแนะนำให้เขากลับบ้านและจัดการสะสางภารกิจที่มีอยู่ให้เรียบ ร้อย ซึ่งความหมายก็คือให้เตรียมตัวตาย

แต่แล้วในเย็นนั้นเมื่อแพทย์ได้ตัดชิ้นเนื้อที่ตับอ่อน ไปตรวจอย่างละเอียด ผลปรากฏว่า เขาเป็นมะเร็งตับอ่อน ชนิดที่พบเพียงแค่ 1 เปอร์เซนต์ของผู้ป่วย ซึ่งรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ในปี 2009 จอบส์เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายตับที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี่ และกลับไปทำงานที่ Apple อีกครั้ง หลังลาหยุดเป็นเวลา 6 เดือน

ซีอีโอใหญ่ของ Apple กล่าวว่า นี่เป็นประสบการณ์เฉียดตายที่สุดของเขา ซึ่งทำให้เขาสามารถพูดได้เต็มปากยิ่งกว่าเมื่อตอนที่ใช้ความตายมาเตือนตัว เองเป็นมรณานุสติ และเมื่อผ่านห้วงเวลานั้นมาได้ เขาบอกว่าความตายคือประดิษฐกรรมที่ดีที่สุดของชีวิตความตายคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิต เขาได้พูดถึงความตายไว้ว่า


ไม่ มีใครอยากตาย แม้ว่าคนที่อยากขึ้นสวรรค์ ก็ไม่อยากตายเพื่อจะได้ไปที่นั่น แต่เราทุกคนต้องตาย ไม่มีใครรอดพ้นไปได้ ดังนั้นความตายก็คือตัวเปลี่ยนแปลงชีวิต มันจะกำจัดคนเก่าออกไป(ตาย) เพื่อเปิดทางให้คนใหม่ได้เข้ามา(เกิด) ตอนนี้คนใหม่ก็คือพวกคุณ แต่ในไม่ช้า พวกคุณก็จะค่อยๆแก่ และถูกกำจัดออกไป(ตาย) นี่คือหลักความจริง


จอบส์ได้เตือนว่า เวลาของคุณจึงมีจำกัด และอย่ายอมเสียเวลามีชีวิตอยู่ในชีวิตของคนอื่น จงอย่ามีชีวิตอยู่ด้วยผลจากความคิดของคนอื่น และอย่ายอมให้เสียงของคนอื่นๆ มากลบเสียงที่อยู่ภายในตัวของคุณ และที่สำคัญที่สุดคือ คุณจะต้องมีความกล้าที่จะก้าวไปตามที่หัวใจคุณปรารถนาและสัญชาตญาณของคุณจะ พาไป เพราะหัวใจและสัญชาตญาณของคุณรู้ดีว่ คุณต้องการจะเป็นอะไร

ทุกวันนี้ จอบส์ในวัย 55 ปียังคงถือปฏิบัติตามแบบเซน ที่มีวิถีแห่งความเรียบง่ายแต่ลุ่มลึก และเขามักอ้างคำพูดของอาจารย์เซนหลายๆท่าน และหลักปรัชญาเซน ในระหว่างการแสดงสุนทรพจน์ในที่ต่างๆ


9 บทเรียนทองของสตีฟ จอบส์


9 คำพูดที่ดีที่สุดที่คัดเลือกมานี้ จะช่วยให้คุณทำงานได้สำเร็จตามสไตล์ซีอีโอแสนล้าน

1. สตีฟ จอบส์ พูดว่า นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้ตาม

นวัตกรรมหรือวิธีการใหม่ เป็นสิ่งไร้ขีดจำกัด มีเพียงจินตนาการเท่านั้นที่มีขอบเขต ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องเริ่มคิดนอกกรอบ ถ้าคุณทำงานในภาคธุรกิจที่กำลังเติบโต ต้องรู้จักคิดหาทางทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และอยากจะทำธุรกรรมด้วย แต่ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจท่กำลังหดตัว ต้องรีบออกมาจากธุรกิจนั้นโดยเร็ว และเปลี่ยนแปลงก่อนที่คุณจะกลายเป็นคนตกยุค ตกงาน หรือธุรกิจล่มสลาย และต้องจำไว้เสมอว่า คุณจะผัดวันประกันพรุ่งไม่ได้ ต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวนี้

2. สตีฟ จอบส์ พูดว่า จงเป็นคนที่มีคุณภาพสูง คนบางคนไม่เคยชินกับการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คาดหวังความเป็นเลิศ

ไม่มีหนทางลัดสู่ความเป็นเลิศ คุณจะต้องตั้งใจและให้ความสำคัญ ใช้ความสามารถ ทักษะ และพรสวรรค์ที่มี พยายามทำให้มากกว่าคนอื่น มีมาตรฐานสูงกว่า และใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้เกิดความแตกต่าง ความเป็นเลิศไม่ใช่เรื่องยาก แต่คุณต้องลงมือทำทันที แล้วคุณจะประหลาดใจในสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในชีวิต

3. สตีฟ จอบส์ พูดว่า วิธีเดียวที่จะทำงานให้ได้ผลดีเยี่ยม คือ คุณต้องรักในสิ่งที่ทำ ถ้าคุณยังไม่เจอสิ่งที่รักในตอนนี้ จงมองหาไปเรื่อยๆ อย่าด่วนสรุป เพราะมันเป็นเรื่องของหัวใจ คุณจะรู้ได้เอง เมื่อเจอสิ่งที่รัก

จงทำในสิ่งที่รัก มองหาอาชีพการงานที่ทำให้คุณมีจุดประสงค์ ทิศทาง และความพึงพอใจในชีวิต เมื่อคุณมีเป้าหมายและพยายามไปให้ถึง มันจะทำให้ชีวิตของคุณมีความหมาย ทิศทาง และความพอใจ ซึ่งไม่เพียงช่วยให้มีสุขภาพดีและอายุยืนยาว แต่ยังจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นเมื่อต้องเผชิญอุปสรรค

4. สตีฟ จอบส์ พูดว่า คุณก็รู้ว่า อาหารส่วนใหญ่ที่เรากิน เราไม่ได้ผลิตด้วยตัวเราเอง เราสวมใส่เสื้อผ้าที่คนอื่นผลิต เราพูดภาษาที่คนอื่นพัฒนาขึ้น เราใช้คณิตศาสตร์ที่คนอื่นค่อยๆปรับปรุงมาเรื่อยๆ ผมหมายถึงว่า เราเป็นฝ่ายรับอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น คงเป็นความรู้สึกที่น่าปลาบปลื้มอย่างยิ่งที่เราสามารถสร้างสรรค์บางสิ่ง บางอย่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

จงใช้ชีวิตตามหลักศีลธรรม พยายามทำให้เกิดความแตกต่างบนโลกใบนี้และมีส่วนร่วมให้เกิดสิ่งที่ดีงามยิ่ง ขึ้น คุณจะพบว่า มันจะทำให้ชีวิตของคุณมีความหมายมากยิ่งขึ้น แถมยังเป็นยาแก้ความเบื่อหน่ายที่ได้ผลดีอีกด้วย ลองมองไปรอบๆตัว แล้วคุณจะพบว่า มีสิ่งต่างๆให้คุณทำอยู่เสมอ และจงพูดคุยกับผู้อื่นถึงสิ่งที่คุณกำลังทำ แต่อย่าพร่ำสอน หรือคิดว่าตัวเองถูกต้อง หรือหลงตัวเอง เพราะจะทำให้คนอื่นไม่อยากคุยด้วย ขณะเดียวกัน คุณต้องไม่กลัวที่จะทำตนเป็นตัวอย่าง และใช้โอกาสที่มี บอกเล่าถึงสิ่งที่คุณกำลังทำ

5. สตีฟ จอบส์ พูดว่า มีคำพูดในพุทธศาสนาว่า จิตของผู้เริ่มต้น มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะมีจิตของผู้เริ่มต้น ซึ่งเขาอธิบายต่อไปว่า

มันเป็นจิตที่มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง ซึ่งค่อยๆทำให้เราตระหนักถึงแก่นแท้ของสิ่งเหล่านั้น จิตของผู้เริ่มต้น ก็คือการนำหลักการของเซนมาปฏิบัติจริง เป็นจิตบริสุทธิ์ที่ปราศจากอคติ การคาดหวัง การตัดสิน ความลำเอียง ให้คิดว่า จิตของผู้เริ่มต้น เป็นเหมือนจิตของเด็กน้อย ซึ่งเต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ความสงสัย และความประหลาดใจ

6. สตีฟ จอบส์ พูดว่า เราคิดว่า โดยทั่วไปแล้ว คุณดูโทรทัศน์เพื่อพักสมอง และคุณใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อต้องการให้สมองทำงาน

ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีรายงานการศึกษาจำนวนมากที่ยืนยันหนักแน่นว่า การดูทีวีส่งผลเสียด้านจิตใจและมีอิทธิพลด้านศีลธรรม และคนที่ติดทีวีส่วนมาก แม้จะรู้ว่า มันทำให้ชินชาและเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ แต่ก็ยังใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งอยู่หน้าจอสี่เหลี่ยม ดังนั้น จงปิดทีวีซะ เพื่อถนอมเซลล์สมอง แต่ต้องระวัง เพราะการใช้คอมพิวเตอร์ก็อาจเป็นการพักสมองได้เช่นกัน ลองเปลี่ยนมาเล่นเกมที่พัฒนาสติปัญญาดีกว่า

7. สตีฟ จอบส์ พูดว่า ผมสูญเงินไป 250 ล้านดอลลาร์ภายใน 1 ปี มันทำให้ผมรู้จักตนเองดีขึ้น

อย่ามองว่า การทำผิดกับความผิดเป็นเรื่องเท่าเทียมกัน เพราะคนที่ประสบความสำเร็จ โดยไม่เคยล้มเหลวหรือทำผิดเลยนั้น ไม่มีหรอก มีแต่คนที่ประสบความสำเร็จ เคยทำผิดพลาดและรู้จักเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อทำให้ถูกต้องในครั้งต่อไป พวกเขามองความผิดพลาดเป็นเครื่องเตือนสติ มากกว่าความสิ้นหวัง การไม่เคยทำผิดเลย แสดงว่า คนนั้นไม่เคยใช้ชีวิตอย่างเต็มที่

8. สตีฟ จอบส์ พูดว่า ในโลกนี้ไม่เคยมีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาด เราเกิดมาบนโลกใบนี้แล้วก็ได้ทำสิ่งผิดพลาดเช่นกัน ไม่งั้นแล้ว เราจะเกิดมาทำไม

คุณรู้หรือไม่ว่า มีเรื่องใหญ่ๆหลายเรื่องที่ต้องทำให้สำเร็จในชีวิต และรู้หรือไม่ว่า เรื่องสำคัญเหล่านั้นจะถูกฝุ่นจับ เมื่อคุณใช้เวลามัวแต่นั่งคิดมากกว่าลงมือทำ เราทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมของขวัญชิ้นหนึ่งที่จะมอบให้กับชีวิตของเราเอง ของขวัญที่เต็มไปด้วยความปรารถนา ความสนใจ ความหลงใหล และความอยากรู้อยากเห็น ของขวัญชิ้นนี้ แท้จริงแล้ว มันคือเป้าหมายของเรานั่นเอง และคุณตั้งเป้าหมายของคุณได้โดยไม่ต้องขออนุญาตใครทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน ครู พ่อแม่ นักบวช หรือเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจเลือกเป้าหมายให้คุณได้ คุณต้องหาจุดมุ่งหมายด้วยตัวคุณเอง

9. สตีฟ จอบส์ พูดว่า เวลาของ คุณมีจำกัด จงอย่าเสียเวลาใช้ชีวิตตามแบบคนอื่น อย่าติดอยู่ในหลักความเชื่อ ซึ่งทำให้คุณใช้ชีวิตตามผลความคิดของผู้อื่น อย่ายอมให้เสียงความคิดของคนอื่น มากลบเสียงที่อยู่ภายในตัวของคุณ และทีสำคัญที่สุด คือ คุณต้องมีความกล้า ที่จะทำตามหัวใจปรารถนาและสัญชาติญาณ เพราะมันรู้ดีว่า จริงๆแล้ว คุณต้องการเป็นอะไร เรื่องอื่นๆกลายเป็นเรื่องรองไปโดยสิ้นเชิง

คุณเบื่อหรือเปล่าต่อการใช้ชีวิตตามความฝันของคนอื่น ไม่ต้องสงสัยเลย ก็มันเป็นชีวิตของคุณเอง คุณมีสิทธิใช้ชีวิตในแบบที่คุณต้องการ โดยไม่ต้องมีใครมาคอยขัดขวาง ลองให้โอกาสตัวเองฝึกความคิดริเริ่มในบรรยากาศที่ปราศจากความกลัวและแรงกด ดัน จงใช้ชีวิตตามแบบที่คุณเลือก และเป็นเจ้านายตัวเอง
 

หลวงพ่อดีเนาะ

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ อดีตสมภารวัดป่าชิคาโก  แสดงธรรมไว้หลายธรรมมาสน์  คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย
> (
สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี) ฟังแล้วติดใจ เอามาพิมพ์เป็นหนังสื่อ ชื่อ หักหอกเป็นดอกไม้
>
>
เรื่องหนึ่งที่ท่านเทศน์ เป็นเรื่องของหลวงพ่อวัดหนึ่ง ซึ่งขึ้นชื่อลือชากันว่า ท่านเป็นพระที่มีแต่ความสุข  ไม่เคยมีความทุกข์
>
>
วัน หนึ่ง โยมมานิมนต์ท่านไปเทศน์ที่บ้าน บอกท่านว่าจะมารับแต่เช้า หลวงพ่อก็นั่งรอจนสายโยมก็ไม่มาสักที
>
หลวงพ่อก็ว่า "ไม่มา ก็ดีเหมือนกันเนาะ เราฉันข้าวของเราดีกว่า"
>
ฉันข้าวได้ไม่กี่คำ โยมก็มารับพอดี กราบกรานขอโทษที่มาช้า เหตุเพราะว่ารถเสีย
>
หลวงพ่อวางช้อน "อือ ก็ดีเนาะ ไปฉันที่งานเนาะ"
>
>
นั่ง รถไปได้สักพัก เครื่องรถก็ดับอีก คนขับบอก "รถเสียครับ"
>
หลวงพ่อก็ว่า "ดีเนาะ ได้หยุดพักชมวิวเนาะ"
>
คนขับซ่อมเครื่องรถได้พัก ก็ออกปากขอให้หลวงพ่อช่วยเข็นรถ
>
ความจริงหลวงพ่อก็แก่ ข้าวก็ฉันได้ไม่กี่คำ แ ต่ทานก็ยิ้ม บอกว่า
> "
โอ้ดีเนาะ ได้ออกกำลังเนาะ"
>
แล้วก็ขมีขมันออกแรงช่วยเข็นรถจนวิ่งได้
>
>
ไปถึงบ้านงาน เวลาเลยเที่ยง หมดเวลาฉันอาหารไปแล้ว เป็นอันว่า
>
วันนั้นหลวงพ่ออดข้าว เจ้าภาพก็ร้อนใจ
>
อะไรๆก็เลยเวลามานาน นิมนต์ท่านขึ้นเทศน์ทันที
> "
ดีเนาะ มาถึงก็ได้ทำงานเลยเนาะ"
>
>
หลวง พ่อว่าแล้วก็ขึ้นธรรมมาสน์เทศน์จนจบ มีคนชงกาแฟถวาย
>
แต่เผลอตักเกลือใส่แทนน้ำตาลหลวงพ่อจิบกาแฟไปหนึ่งคำ แล้วก็บอกโยมว่า
> "
โอ้ดีเนาะ ดีๆ" แล้วก็วาง ธรรมเนียมของหลวงพ่อขลังๆ เวลาท่านฉันอะไร
>
ลูกศิษย์ก็ อยากได้บ้าง ว่ากันว่าเป็นสิริมงคลดีนักเรียงหน้ารอกันเป็นแถว
>
ลูกศิษย์คนแรก ดื่มกาแฟก็พ่นพรวดออกมา "เค็มปี๋เลยหลวงพ่อ
>
ฉันเข้าไปได้ยังไง!"
> "
ก็ดีเนาะ ฉันกาแฟหวานๆมานาน" หลวงพ่อว่า
> "
ฉันเค็มๆมั่งก็ดีเหมือนกัน"
>
>
ไม่ว่าฝนจะตก แดดจะออก ลมแรง น้ำท่วม หรือคนด่า
>
หลวงพ่อท่านมองไปในแง่ดีได้หมด
>
มีลูกศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่งไปทำผิด ถูกจับไปติดคุก ท่านก็ว่า "ก็ดีเนาะ
>
มันจะได้ศึกษาชีวิต"
>
ท่าน อาจารย์ประสงค์บอกว่า หลวงพ่อองค์นี้ ชื่ออะไร อยู่วัดไหน
>
ตัวท่านเคยจดไว้ แ ต่ทำสมุดที่จดหายจำได้เพียงแต่ว่า
>
คนอีสานเขาสรรเสริญท่านมาก
>
>
แม้ท่านจะชื่อจริงอะไร ก็คงไม่มีใครจำ เพราะต่างก็เรียกท่านว่า
> "
หลวงพ่อดีเนาะ" กันหมดแล้ว
>
เรื่อง ของหลวงพ่อดีเนาะ เป็นหนึ่งตัวอย่างในเรื่อง
> "
หักหอกเป็นดอกไม้" ทุกข์สุข ดีเลวล้วนแล้วแต่อยู่ที่วิธีคิด
>
ถ้าคิดเป็นบวก เรื่องก็ออกมาเป็นบวก...
>
หลวง พ่อดีเนาะแห่งวัดมัชฌิมาวาส อุดรธานี ซึ่งมองโลกในแง่ดี
>
ไม่เคยจับผิดใคร ไม่เคยว่าใคร เจอปัญหาอะไรๆ ก็พูดว่า ดีเนาะ” …
>
จนกระทั่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
>
ให้เป็นพระเทพวิสุทธาจารย์ สาธุอุทานธรรมวาทีซึ่งแปลว่า ดีเนาะ
>
>
หลวงพ่อ ดีเนาะเป็นเกจิอาจารย์มีชื่อของจังหวัดอุดรธานี ที่ใคร ๆ
>
ก็รู้จัก ท่านมีลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพนับถือทั่วประเทศ
>
มีเรื่องเกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีและการประพฤติปฏิบัติตนของหลวงพ่อดีเล่าขานกันมากมายหลายเรื่องเช่นมีผู้ เล่าว่า เนื่องจากหลวงพ่อดีมีผู้เคารพนับถือมาก จึงมีผู้มาถวายจต ุปัจจัย
>
ข้าวของเครื่องใช้ที่มีค่าแก่ท่านมากมาย
>
ในกุฏิของหลวงพ่อดีจึงมีข้าวของเงินทองที่เตะตาล่อโจรให้อยากลองของมากมาย แต่ดูเหมือนว่าหลวงพ่อท่าน
>
ไม่ค่อยจะสนใจวัตถุรอบกายของท่านแต่อย่างใดอยู่มา วันหนึ่ง
>
หลวงพ่อดีก็ถูกขุนโจรใจโหดปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์มากมาย ถือปืนบุกเข้าประชิดตัวหลวงพ่อ
>
บนกุฏิพร้อมทั้งประกาศก้อง
> “
นี่คือการปล้น อย่าได้ขัดขืนนะหลวงพ่อ
>
หลวงพ่อดียิ้มกับโจรด้วยอารมณ์ดีและไม่มีอาการสะทกสะท้าน ท่านกล่าวกับโจรอย่างนิ่มนวลว่า
> “
ปล้นก็ดีเนาะโจรชักแปลกใจในคำพูดและท่าทีของหลวงพ่อ โจรพูดว่า
> “
ถูกปล้นทำไมว่าดีละหลวงพ่อหลวงพ่อดีตอบว่า
> “
ทำไม่จะไม่ดีละ ก็ข้าต้องทนทุกข์ทรมานเฝ้าไอ้สมบัติบ้า ๆ
>
นี้ตั้งนานแล้ว เอ็งเอาไปเสียให้หมดข้าจะได้ไม่ต้องเฝ้ามันอีก
>
โจรขู่อีก
> “
ไม่ใช่ปล้นอย่างเดียวฉันต้องฆ่าหลวงพ่อด้วย เพื่อปิดปากเจ้าทรัพย์
>
หลวงพ่อดีก็ตอบเหมือนเดิม
> “
ฆ่าก็ดีเนาะโจรแปลกใจจึงถามว่า
> “
ถูกฆ่ามันจะดีได้อย่างไรละหลวงพ่อหลวงพ่อดีตอบ
> “
ข้ามันแก่แล้ว ตายเสียได้ก็ดี จะได้ไม่ทุกข์ร้อนอะไร
>
โจรรู้สึกอ่อนใจเลยบอกว่า
> “
ถ้าอย่างนั้นฉันไม่ฆ่าหรอกหลวงพ่อดีก็พูดเหมือนเคย
> “
ไม่ฆ่าก็ดีเนาะโจรถามอีก
> “
ทำไมฆ่าก็ดี ไม่ฆ่าก็ดีอีกหลวงพ่อดีบอกว่า
> “
การ ฆ่ามันเป็นบาป เอ็งจะต้องชดใช้เวรทั้งชาตินี้และชาติหน้า
>
อย่างน้อยตำรวจเขาจะต้องตามจับเอ็งเข้าคุก เข้าตะราง  หรือไม่ก็ถูกฆ่าตาย
>
ตายแล้วก็ยังตกนรกอีก
>
โจรเลยเปลี่ยนใจถ้าอย่างนั้นฉันไม่ปล้นหลวงพ่อแล้ว
>
หลวงพ่อดีก็ตอบอีกว่าไม่ปล้นก็ดีเนาะ
>
มี ผู้เล่าต่อมาว่า ในที่สุดโจรคนนั้นก็สำนึกบาปเข ้ามอบตัวกับตำรวจ
>
เมื่อพ้นโทษออกมาก็ขอให้หลวงพ่อดีบวชให้และบำเพ็ญศีลภาวนาตลอดมา
>
ส่วนหลวงพ่อดีมีคนให้ฉายาท่านว่า หลวงพ่อดีเนาะมาจนทุกวันนี้
>
ท่านมีตัวตนอยู่จริงครับ
>
พระเทพวิสุทธาจารย์ (หลวงปู่ดีเนาะ)
>
วัดมัชฌิมาวาส อ.เมือง จ.อุดรธานี

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ข้อคิดจากการปฏิบัติธรรมที่ยุวพุทธ 2: 16 - 22 กรกฎาคม 2554

สรุปเฉพาะบางประเด็นที่น่าสนใจนะคะ และเลือกบางคนที่สนใจปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่หากท่านใดเห็นว่าเป็นประโยชน์ จะส่งผลเป็นธรรมทาน ก็ไม่หวงห้าม ขออนุโมทนาสาธุ

·         สิ่งต่างๆ ที่เราได้พบ ได้เห็น ได้ฟัง น่าพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง เวลาเรา in เราก็มีอารมณ์ไปกับสิ่งที่มากระทบ ถ้าเราทำใจเสียได้ว่า สิ่งที่มากระทบเราในทุกวันนี้ก็เป็นผลของกรรมที่เราได้ทำไว้นั่นเอง มาส่งผล ทุกครั้งที่เราไม่พอใจ เสียใจ หากคิดก่อนว่า เป็นผลของวิบากกรรม เราจะไม่มุ่งไปที่เรื่องที่ทำให้เราไม่พอใจ เสียใจ และไม่มุ่งไปที่คนที่มารกะทบเรา แต่พระพุทธศาสนาก็ไม่ได้สอนให้หลับหูหลับตา ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่มากระทบโดยไม่ดิ้นรนขนขวาย แต่สอนให้เรารู้จักหันมาพิจารณาตนเอง ว่าเราเป็นอย่างไร เค้าเป็นอย่างไร เราต่างกันเพราะเหตุปัจจัยที่ต่างกัน เรามีทุกข์ เค้าก็มีทุกข์ ทำใจเป็นกลาง แผ่เมตตาให้เค้าไป อธิษฐานจิตว่า ถ้าเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเรา ก็ขอส่งบุญให้ ขอให้เค้ามีแต่ความสุข และอโหสิกรรมให้เรา ส่วนของเรา เราก็จะเลิกพยาบาทผูกเวรตั้งแต่นี้ต่อไป และกรรมใดที่เคยล่วงเกินกันไปก็ขอยกเป็นอโหสิกรรมกันไป อันนี้เห็นว่าทำได้ยากและเป็นประโยชน์มาก

·         จิตของเราละเอียดมาก เราตั้งใจก็ตามไม่ตั้งใจก็ตาม ส่งที่ผ่านมากระทบเราจะถูกบันทึกไว้ในจิตใจของเราทั้งหมด เวลาเราได้ปลีกวิเวก ได้อยู่กับตัวเอง ไปปฏิบัติธรรม เราจะรู้ว่าเรื่องที่ผ่านเข้ามานั้นไม่ได้หายไป เรื่องต่างๆ จะฟุ้งขึ้นมาให้เห็น ถ้าจิตเราปรุงต่อ โทสะ โมหะก้เกิดขึ้น ถ้าเรารู้ทัน ก็เหมือนลอกเศษขยะออกจากใจ


·         การตั้งฐานของจิต ต้องตั้งฐานให้ถูก ตั้งไม่ถูกก็ตัดกิเลสไม่ได้ เช่น เวลาเห็นของถูกใจกำหนดว่า เห็นหนอ แต่เวลาภาวนาว่าเห็นหนอ สติมันจับอยู่ที่ของมันไม่ได้จับที่ภาพที่รากฎที่ตา ใจมันก็จะปรุงต่อว่า อยากได้ อยากได้ อยากได้ จะเอา จะเอา จะเอา

·         อันนี้เพิ่มเติมอ่านจากพระไตรปิฎก สรุปประมาณว่า พระพุทธเจ้าเทศนาในพระสูตรว่า กามเป็นสุขน้อย ทุกข์มาก ส่วนความสุขจากผลของการปฏิบัติ มีสุขมาก ทุกข์น้อย ท่านเปรียบกับสุนัขนั่งแทะกระดูกอยู่ กระดูกที่เปื้อนเลือดไม่ได้ทำให้สุนัขอิ่มแต่สุนัขก็ยังนั่งแทะอยู่ อันนี้สุขยายเพิ่มเติมเองว่า วัตถุประสงค์ของสุนัข ถ้าหิวก็ควรหาอะไรกินจะได้อิ่ม แต่สุนัขกลับเพลิดเพลินกับการแทะกระดูก เลยไม่หาอะไรกิน หรือพูดง่ายๆ ว่ามัวแต่สนใจกระดูกอยู่ เลยไม่สนใจความสุขอันอื่นที่จะมีเข้ามา

·         ในพระสูตร พระพุทธเจ้าสอนเรื่องโมหะ เรื่องของความหลงเพลิดเพลิน ท่านตอบคำถามว่า ทำไมคนถึงยังปฏิบัติธรรมน้อย ทั้งที่ให้ประโยชน์มาก ท่านกล่าวว่า คนเราจะอยู่ในความสุขที่พึงใจไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีความสุขจากสิ่งอื่นที่ดีกว่า สูงกว่า มาแทน จึงจะพรากจากความสุขจากโมหะที่ยึดติดอันเดิม ประมาณว่า (สุว่า) คนที่มีความสุขทางโลก สมบูรณ์โลกอยู่ ยังไม่เจอความทุกข์ ก็เลยติกกับความสุขเดิมๆ อยู่ ขณะที่การปฏิบัติธรรม เมื่อยังไม่เคยปฏิบัติก็ยังไม่เคยได้รับรส ว่ารสธรรมมีความเงียบ ความสงบ ความสุขที่ปราศจากการดิ้นรน เป็นความสุขในระดับที่สูงกว่า แต่เมื่อไม่เคยเกิดความรู้สึกนี้ ย่อมรู้สึกว่า ความสุขจากทางโลก ยังดีอยู่ จึงยังติดข้องอยู่ต่อไป

·         ในการปฏิบัติธรรมครั้งนี้ ตอนจบให้ผู้ร่วมปฏิบัติมาแสดงความรู้สึก มีน้องคนหนึ่งน่าสนใจมาก มาปฏิบัติเข้าแต่อายุเพียง 19 ปีเท่านั้น บอกว่า ช่วงนี้เป็น gap year ระหว่างรอเข้ามหาวิทยาลัย ตอนนี้สอนเข้าแคมบริดได้แล้ว มีความสุขมาก ยิ่งพ่อแม่ให้รางวัลด้วยการทัวร์ยุโรป ยิ่งมีความสุขแบบสุดๆ และคิดว่า นี้เป็นเพราะผลบุญที่ได้ทำมา และคิดว่า ถ้าผลบุญนี้หมดก็ไม่จะสุขอีกต่อไป เลยขอพ่อแม่มาปฏิบัติธรรมเพื่อสร้างเสริมบุญบารมีต่อไป ฟังแล้วสาธุมาก น้องเค้าไอเดียบรรเจิดสุดๆ และคิดว่า แนวคิดของน้องเค้าให้ข้อคิดเตือนใจพวกเรากันได้ เลยขอแชร์ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระเจ้า 500 ชาติ: พญาปูพญาช้าง

โดยปกติ เวลาเราอ่านหนังสือธรรมะในส่วนของพระชาติต่างๆ จะพบว่า พระพุทธเจ้าของเรามักจะเป็นปูโรหิต อำมาตย์ หรือ แม้ว่ามนุษย์ แต่เป็นตระกูลที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาให้ตนเองและผู้คนต่างๆ ในชาตินั้นๆ แต่เมื่อ 2 อาทิตย์ก่อน ได้เริ่มอ่านหนังสือพระเจ้า 500 ชาติ ในตอนหนึ่งที่กล่าวถึงพญาช้างและพญาปู

เรื่องมันมีอยู่ว่า

ณ สระใหญ่แห่งหนึ่ง เป็นที่อยู่อาศัยของพญาปู พญาปูจะดักสัตว์ที่มีกินน้ำ เล่นน้ำ ในสระนี้เป็นอาหาร กินได้แม้กระทั่งช้าง และในบริเวณเดียวกันก็มีฝูงช้างฝูงใหญ่อยู่ฝูงหนึ่ง ซึ่งหากินบริเวณนั้น และมีข้อมูลว่า ในสระมีพญาปูที่ชอบดักกินช้าง หัวหน้าฝูงช้างจึงชักจึงฝูงช้างไปหากินบริเวณอื่น จนกระทั่งเวลาผ่านไป หัวหน้าช้าง มีลูกใหม่ ตัวใหญ่ยิ่งเท่าภูเขา มีพละกำลังเหลือหลาย จึงได้เป็นพญาช้าง และพญาช้างก็มีเมียอยู่ตัวหนึ่ง

วันหนึ่งพญาช้างอยากแก้ไขปัญหาเรื่องพญาปู จึงสอบถามรายละเอียดต่างๆ ทำนองว่า Gather Information before solve the problem ว่างั้นเถอะ ประมาณว่า พญาปูจะขึ้นมากินช้างตอนไหน ตอนลงสระ ตอนเล่นน้ำ หรือ ตอนขึ้นจากสระ ลูกน้องช้างก็ให้ข้อมูลว่า เป็นตอนขึ้นจากสระ

พญาช้างก็เริ่มมองถึง Bottom line ในการจัดการพญาปู และเริ่มวาง Action ในการจัดการ โดยให้ลูกน้ำลงเล่นน้ำก่อนและขึ้นก่อนพญาช้าง เพื่อให้พญาช้างดักกระทืบพยาปู ทำนองยึดสระเค้ามาเป็นของเราเสีย

แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ พญาช้างลืมถามคำถามสำคัญไป จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ต่อไปนี้เกิดขึ้น

พญาปูขึ้นมาจับพญาช้าง พญาช้างตัวใหญ่ก็จริง แต่ 1. พญาปูใหญ่กว่า 2. พญาปูมีแรงมากกว่า ดังนั้น พญาปูเลยเอาก้ามคีบคอพญาช้าง พญาช้างเลยดิ้นด๊อกแด๊ก  ด๊อกแด๊ก ลูกน้องช้างเห็นนายโดนจับก้วิ่งหนีกันระนาว พญาช้างอาศัยแรงที่เหลือตะโกนเรียกเมียช้าง วิงวอนขอร้องให้อยู่เป็นเพื่อนจนกว่าจะตาย นางช้างใจอ่อน กล้ำกลืนความกลัว นั่งเฝ้าพญาช้างอยู่ริมฝั่ง

กาลนั้นพญาปูได้ฟัง พญาปูเกิดอาการ "ฟังแล้วก็ใจอ่อน" เลยปล่อยพญาช้าง ลองทายสิ พญาช้างทำอย่างไร

1. รีบขึ้นฝั่ง วิ่งเข้าป่า
2. รีบขึ้นฝั่ง หันมาขอบคุณ รวบรวมบริวารแล้วพาบริวารหนีไป
3. อย่างงี้ต้องตื้บเลย

เฉลย...............

พญาช้างตื้บพญาปูกระดองแตกตายคาที และบรรลุ Bottom line ในการจัดการพญาปู ยึดสระมาครอบครอ
ได้สำเร็จ


ให้ทาย..........ชาตินี้พระพุทธเจ้าเป็นตัวละครตัวไหน.............
คิดแล้วดูเฉลยตอนท้ายเลย.................................................



พญาช้าง = พระพุทธเจ้า...................................อึ้งป่ะ



เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนได้รู้ว่า....................................................

เกิดอยู่ชาติไหน เราก็เป็นอยู่ตามชาตินั้นๆ มีหน้าที่รับผิดชอบตามชาติที่เกิดมา แต่ก็ต้องพึงระวังว่า เราทำอะไรไว้ก็ต้องได้ผลอย่างนั้น

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปฏิบัติธรรมผาซ่อนแก้ว: มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ

ฟังหลวงพ่ออำนาจ โอภาโส เทศน์เรื่องสมาธิ ท่านสรุปให้ฟังว่า เวลาเรานั่งสมาธิแบบขาดสติ พอเกิดอาการเวทนาขึ้นมาก็ไม่พอใจ เริ่มเกิดอารมณ์พยาบาท หรือ พยาบาทนิวรณ์ และก็อยู่ในอารมณ์อย่างนั้น ตลอดการนั่งสมาธิ อย่างนี้ก็เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าอธิบายให้เห็นภาพ พวกที่เคยปฏิบัติตามระเบียบต้องเคยเจอเหตุการณ์อย่างนี้บางหล่ะ คือ นั่งสมาธิตามกำหนดเวลา นั่งไปนั่งมา เวทนาเกิด เจ็บขาขึ้นมา ก็ทนอยู่ในสมาธิ แต่พอเวทนากวนหนักๆ แถมอาจารย์ไม่สั่นกระดิ่งหมดเวลาซะที ก็เริ่มไปพยาบาทใส่วิทยากรซะงั้น และก็อยู่ในอารมณ์อย่างนั้นจนออกจากสมาธิ อย่างงี้ยิ่งนั่งยิ่งจิตใจแย่ลง ก็เป็นมิจฉาสมาธิ

หรือวันนี้เรานั่งสมาธิได้ดีสุดๆ สงบมา นิ่งมาก เกิดอารมณ์พอใจขึ้นมา เข้าไปยึดติดกับความสงบ เกิดเป็นกามฉันทะนิวรณ์ขึ้นมา แต่หากมีสติ เราจะไม่ไปเพลิดเพลินกับความสุข เราจะรับรู้และวางลง กลับมาอยู่ที่สภาวะจิตปกติ อย่างนี้เป็น สัมมาสมาธิ

แต่ถ้าขาดสติ ขาดสมาธิ ไหลตามกิเลส ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ

ปฏิบัติธรรมผาซ่อนแก้ว: มีแต่ความ เมื่อไม่มีกู

หลังจากศึกษาดูจิตมานิดหน่อย พอเห็นกูแล้ว มาพิจารณาเวทนาเวลาปฏิบัติ ก็เห็นเพิ่มเติมว่า กูชา กูเจ็บ อันนี้ขอพูดภาษาอย่างนี้เพราะมันถึงใจ และใช่กว่า แต่พอเพ่งในความเจ็บ แยกองค์ประกอบ พิจารณาธาตุเพิ่มเติม จึงได้เห็นว่า ความเจ็บมันไม่ได้เกิดร่างกายส่วนไหน พยายามมองหาว่ามันอยู่ส่วนไหนก็ไม่เห็น จาก "กูเจ็บ" มันก็เลยกลายเป็น "ความเจ็บ" ซึ่งหลังจากเห็นความเจ็บอีกไม่นาน ความเจ็บนั้นมันก็หายไป แต่ก็บางทีหรอกนะที่จะพิจารณาได้อย่างนี้

พอมาปฏิบัติที่นี่ ก็ได้ฟังเทศน์เพิ่มเติมซึ่งก็ตรงกับสภาวะธรรมที่เราเจอ ขอสรุปเลยแล้วกัน

ทุกอย่างจริงๆ ไม่มีเรา ไม่มีกู ไม่มีของกู ทุกอย่างมีแค่คำว่า "ความ" เท่านั้น แต่เนื่องจากจิตไปตามรับรู้ และปรุงแต่ง จึงเกิดความรู้สึกเกิดขึ้น สิ่งใดก้ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมดา ย่อมดับไปเป็นธรรมดา เป็นบทธรรมที่พระอัสชิ หนึ่งในปัญจวัคคีย์สอน"อุปติสสะมานพ" หรืออนาคตคือ สารีบุตร หากสังเกตุจะพบว่า ท่านใช้คำว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือ เป็นแค่ something ซึ่งเป็นอะไรก็ได้ เพราะทุกๆ สิ่งมีเกิดและก็มีดับ

เช่น หากเรามีความคิดเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแวบเข้ามา หรือกำลังคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จิตเราก็จดจ่อกับเรื่องนั้น จนลืมตัวลืมใจ พอรู้ว่าเผลอจิตไถลไปกับสิ่งที่คิด ก็กลับมารู้ในปัจจุบัน พอเราจะหาจิตดวงเดิมที่เผลอไปคิดเราจะหาไม่เจอ เพราะจิตที่คิดดับไปแล้ว เหลือแต่จิตที่กำลังค้นหา ดังนั้น จะเห็นว่าจิตนั้นไม่มีตัวตน หรือ มีความเป็นอนัตตา นั่นเอง

ในการใช้ชีวิตของเรา เราตั้งต้นว่าเราอย่างโน้น เราอย่างนี้ เริ่มต้นด้วยอัตตาตัวตน ดังนั้นเมื่อมีอะไรมากระทบ เราก็มีการคิดปรุงแต่ง อย่างน้อยก็ดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรา เราก็จะเริ่มคิดต่อไปว่า เราเป็นงั้นเป็นงี้ สรุปว่าเราก็คิดตามสิ่งที่มากระทบ แล้วก็ไหลไปตามอารมณ์นั้นๆ ก็เกิดทุกข์ขึ้นมา เขียนแล้วรู้สึกว่ายาก ยกตัวอย่างแล้วกัน เรานั่งทำงานอยู่เฉยๆ อยู่กับงาน จิตว่างๆ เบาๆ ต่อมานายเรียกไปหา แล้วบอกโน้นเตือนนี้และบ่นๆ เราได้ยินเสียงนายที่มากระทบก็คิดตาม พร้อมบ่นในใจว่า มาบ่นอะไรกับเรา แล้วจิตก็แต่งต่อไปว่า ไม่เข้าใจหรือไง ว่าเวลาทำงานปกติก็ไม่พอแล้ว แล้วยังเรียกว่าฟังบ่นอีก แล้วก็เดินงอนกลับโต๊ะไป กรณีนี้เห็นไหม เสียงนายมากระทบรู้ไม่ทัน เริ่มตีความเกี่ยวกับตนเอง สุดท้ายก็ทุกข์เพราะปรุงไปปรุงมากลายเป็นงอนนาย เป็นต้น

แต่ถ้าเราตั้งต้นให้ถูกว่า อันตัวเราก็เกิดจากการยืมธาตุทั้ง 4 มา ดังนั้นก็ไม่มีเรา ก็รอวันที่ต้องคืนธาตุเค้าไป เหมือนเราเป็นผู้เช่ามาอาศัยชั่วคราวในบ้านเช่า คือร่างกายนี้ เมื่อบ้านเช่าทรุดโทรมมาก เราก็ย้ายบ้านเช่า ฉะนั้นร่างกายนี้ก็ไม่ใช่เรา

เมื่อนั่งสมาธินาน ไม่เข้าฌาน ย่อมเกิดอาการชา เจ็บ และปวด ทยอยมาเรื่อยๆ ถ้าเราจับที่ลมหายใจก็ปลอดภัย แต่ถ้าจิตแส่ส่ายมาที่ขา ก็รับรู้ถึงอาการปวด กลายเป็น กูปวด พอรู้ทันพิจารณาลงไปขามันก็ไม่ใช่เรา แล้วไอ้ที่ปวดมันคืออะไร อยู่ตรงไหน ก็จะเห็นว่ามันไม่ได้อยู่ในขา มันเป็นอะไรที่ไม่เกี่ยวกับกาย มันก็เรียกว่า เป็นแค่ความปวด แต่ไม่มีใครมีรองรับความปวด

ดังนั้น หากเราสามารถพิจารณาได้ตรงตามความจริงที่ว่า เราไม่มี หรือ กูไม่มี เราก็ไม่มีอะไรมารองรับความรู้สึก ก็จะเห็นเพียงก้อนความรู้สึกเท่านั้น

หรือโดยสรุป เมื่อไม่มีกู ก็มีแต่คำว่า "ความ"