วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ข้อคิดจากการปฏิบัติธรรมที่ยุวพุทธ 2: 16 - 22 กรกฎาคม 2554

สรุปเฉพาะบางประเด็นที่น่าสนใจนะคะ และเลือกบางคนที่สนใจปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่หากท่านใดเห็นว่าเป็นประโยชน์ จะส่งผลเป็นธรรมทาน ก็ไม่หวงห้าม ขออนุโมทนาสาธุ

·         สิ่งต่างๆ ที่เราได้พบ ได้เห็น ได้ฟัง น่าพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง เวลาเรา in เราก็มีอารมณ์ไปกับสิ่งที่มากระทบ ถ้าเราทำใจเสียได้ว่า สิ่งที่มากระทบเราในทุกวันนี้ก็เป็นผลของกรรมที่เราได้ทำไว้นั่นเอง มาส่งผล ทุกครั้งที่เราไม่พอใจ เสียใจ หากคิดก่อนว่า เป็นผลของวิบากกรรม เราจะไม่มุ่งไปที่เรื่องที่ทำให้เราไม่พอใจ เสียใจ และไม่มุ่งไปที่คนที่มารกะทบเรา แต่พระพุทธศาสนาก็ไม่ได้สอนให้หลับหูหลับตา ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่มากระทบโดยไม่ดิ้นรนขนขวาย แต่สอนให้เรารู้จักหันมาพิจารณาตนเอง ว่าเราเป็นอย่างไร เค้าเป็นอย่างไร เราต่างกันเพราะเหตุปัจจัยที่ต่างกัน เรามีทุกข์ เค้าก็มีทุกข์ ทำใจเป็นกลาง แผ่เมตตาให้เค้าไป อธิษฐานจิตว่า ถ้าเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเรา ก็ขอส่งบุญให้ ขอให้เค้ามีแต่ความสุข และอโหสิกรรมให้เรา ส่วนของเรา เราก็จะเลิกพยาบาทผูกเวรตั้งแต่นี้ต่อไป และกรรมใดที่เคยล่วงเกินกันไปก็ขอยกเป็นอโหสิกรรมกันไป อันนี้เห็นว่าทำได้ยากและเป็นประโยชน์มาก

·         จิตของเราละเอียดมาก เราตั้งใจก็ตามไม่ตั้งใจก็ตาม ส่งที่ผ่านมากระทบเราจะถูกบันทึกไว้ในจิตใจของเราทั้งหมด เวลาเราได้ปลีกวิเวก ได้อยู่กับตัวเอง ไปปฏิบัติธรรม เราจะรู้ว่าเรื่องที่ผ่านเข้ามานั้นไม่ได้หายไป เรื่องต่างๆ จะฟุ้งขึ้นมาให้เห็น ถ้าจิตเราปรุงต่อ โทสะ โมหะก้เกิดขึ้น ถ้าเรารู้ทัน ก็เหมือนลอกเศษขยะออกจากใจ


·         การตั้งฐานของจิต ต้องตั้งฐานให้ถูก ตั้งไม่ถูกก็ตัดกิเลสไม่ได้ เช่น เวลาเห็นของถูกใจกำหนดว่า เห็นหนอ แต่เวลาภาวนาว่าเห็นหนอ สติมันจับอยู่ที่ของมันไม่ได้จับที่ภาพที่รากฎที่ตา ใจมันก็จะปรุงต่อว่า อยากได้ อยากได้ อยากได้ จะเอา จะเอา จะเอา

·         อันนี้เพิ่มเติมอ่านจากพระไตรปิฎก สรุปประมาณว่า พระพุทธเจ้าเทศนาในพระสูตรว่า กามเป็นสุขน้อย ทุกข์มาก ส่วนความสุขจากผลของการปฏิบัติ มีสุขมาก ทุกข์น้อย ท่านเปรียบกับสุนัขนั่งแทะกระดูกอยู่ กระดูกที่เปื้อนเลือดไม่ได้ทำให้สุนัขอิ่มแต่สุนัขก็ยังนั่งแทะอยู่ อันนี้สุขยายเพิ่มเติมเองว่า วัตถุประสงค์ของสุนัข ถ้าหิวก็ควรหาอะไรกินจะได้อิ่ม แต่สุนัขกลับเพลิดเพลินกับการแทะกระดูก เลยไม่หาอะไรกิน หรือพูดง่ายๆ ว่ามัวแต่สนใจกระดูกอยู่ เลยไม่สนใจความสุขอันอื่นที่จะมีเข้ามา

·         ในพระสูตร พระพุทธเจ้าสอนเรื่องโมหะ เรื่องของความหลงเพลิดเพลิน ท่านตอบคำถามว่า ทำไมคนถึงยังปฏิบัติธรรมน้อย ทั้งที่ให้ประโยชน์มาก ท่านกล่าวว่า คนเราจะอยู่ในความสุขที่พึงใจไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีความสุขจากสิ่งอื่นที่ดีกว่า สูงกว่า มาแทน จึงจะพรากจากความสุขจากโมหะที่ยึดติดอันเดิม ประมาณว่า (สุว่า) คนที่มีความสุขทางโลก สมบูรณ์โลกอยู่ ยังไม่เจอความทุกข์ ก็เลยติกกับความสุขเดิมๆ อยู่ ขณะที่การปฏิบัติธรรม เมื่อยังไม่เคยปฏิบัติก็ยังไม่เคยได้รับรส ว่ารสธรรมมีความเงียบ ความสงบ ความสุขที่ปราศจากการดิ้นรน เป็นความสุขในระดับที่สูงกว่า แต่เมื่อไม่เคยเกิดความรู้สึกนี้ ย่อมรู้สึกว่า ความสุขจากทางโลก ยังดีอยู่ จึงยังติดข้องอยู่ต่อไป

·         ในการปฏิบัติธรรมครั้งนี้ ตอนจบให้ผู้ร่วมปฏิบัติมาแสดงความรู้สึก มีน้องคนหนึ่งน่าสนใจมาก มาปฏิบัติเข้าแต่อายุเพียง 19 ปีเท่านั้น บอกว่า ช่วงนี้เป็น gap year ระหว่างรอเข้ามหาวิทยาลัย ตอนนี้สอนเข้าแคมบริดได้แล้ว มีความสุขมาก ยิ่งพ่อแม่ให้รางวัลด้วยการทัวร์ยุโรป ยิ่งมีความสุขแบบสุดๆ และคิดว่า นี้เป็นเพราะผลบุญที่ได้ทำมา และคิดว่า ถ้าผลบุญนี้หมดก็ไม่จะสุขอีกต่อไป เลยขอพ่อแม่มาปฏิบัติธรรมเพื่อสร้างเสริมบุญบารมีต่อไป ฟังแล้วสาธุมาก น้องเค้าไอเดียบรรเจิดสุดๆ และคิดว่า แนวคิดของน้องเค้าให้ข้อคิดเตือนใจพวกเรากันได้ เลยขอแชร์ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระเจ้า 500 ชาติ: พญาปูพญาช้าง

โดยปกติ เวลาเราอ่านหนังสือธรรมะในส่วนของพระชาติต่างๆ จะพบว่า พระพุทธเจ้าของเรามักจะเป็นปูโรหิต อำมาตย์ หรือ แม้ว่ามนุษย์ แต่เป็นตระกูลที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาให้ตนเองและผู้คนต่างๆ ในชาตินั้นๆ แต่เมื่อ 2 อาทิตย์ก่อน ได้เริ่มอ่านหนังสือพระเจ้า 500 ชาติ ในตอนหนึ่งที่กล่าวถึงพญาช้างและพญาปู

เรื่องมันมีอยู่ว่า

ณ สระใหญ่แห่งหนึ่ง เป็นที่อยู่อาศัยของพญาปู พญาปูจะดักสัตว์ที่มีกินน้ำ เล่นน้ำ ในสระนี้เป็นอาหาร กินได้แม้กระทั่งช้าง และในบริเวณเดียวกันก็มีฝูงช้างฝูงใหญ่อยู่ฝูงหนึ่ง ซึ่งหากินบริเวณนั้น และมีข้อมูลว่า ในสระมีพญาปูที่ชอบดักกินช้าง หัวหน้าฝูงช้างจึงชักจึงฝูงช้างไปหากินบริเวณอื่น จนกระทั่งเวลาผ่านไป หัวหน้าช้าง มีลูกใหม่ ตัวใหญ่ยิ่งเท่าภูเขา มีพละกำลังเหลือหลาย จึงได้เป็นพญาช้าง และพญาช้างก็มีเมียอยู่ตัวหนึ่ง

วันหนึ่งพญาช้างอยากแก้ไขปัญหาเรื่องพญาปู จึงสอบถามรายละเอียดต่างๆ ทำนองว่า Gather Information before solve the problem ว่างั้นเถอะ ประมาณว่า พญาปูจะขึ้นมากินช้างตอนไหน ตอนลงสระ ตอนเล่นน้ำ หรือ ตอนขึ้นจากสระ ลูกน้องช้างก็ให้ข้อมูลว่า เป็นตอนขึ้นจากสระ

พญาช้างก็เริ่มมองถึง Bottom line ในการจัดการพญาปู และเริ่มวาง Action ในการจัดการ โดยให้ลูกน้ำลงเล่นน้ำก่อนและขึ้นก่อนพญาช้าง เพื่อให้พญาช้างดักกระทืบพยาปู ทำนองยึดสระเค้ามาเป็นของเราเสีย

แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ พญาช้างลืมถามคำถามสำคัญไป จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ต่อไปนี้เกิดขึ้น

พญาปูขึ้นมาจับพญาช้าง พญาช้างตัวใหญ่ก็จริง แต่ 1. พญาปูใหญ่กว่า 2. พญาปูมีแรงมากกว่า ดังนั้น พญาปูเลยเอาก้ามคีบคอพญาช้าง พญาช้างเลยดิ้นด๊อกแด๊ก  ด๊อกแด๊ก ลูกน้องช้างเห็นนายโดนจับก้วิ่งหนีกันระนาว พญาช้างอาศัยแรงที่เหลือตะโกนเรียกเมียช้าง วิงวอนขอร้องให้อยู่เป็นเพื่อนจนกว่าจะตาย นางช้างใจอ่อน กล้ำกลืนความกลัว นั่งเฝ้าพญาช้างอยู่ริมฝั่ง

กาลนั้นพญาปูได้ฟัง พญาปูเกิดอาการ "ฟังแล้วก็ใจอ่อน" เลยปล่อยพญาช้าง ลองทายสิ พญาช้างทำอย่างไร

1. รีบขึ้นฝั่ง วิ่งเข้าป่า
2. รีบขึ้นฝั่ง หันมาขอบคุณ รวบรวมบริวารแล้วพาบริวารหนีไป
3. อย่างงี้ต้องตื้บเลย

เฉลย...............

พญาช้างตื้บพญาปูกระดองแตกตายคาที และบรรลุ Bottom line ในการจัดการพญาปู ยึดสระมาครอบครอ
ได้สำเร็จ


ให้ทาย..........ชาตินี้พระพุทธเจ้าเป็นตัวละครตัวไหน.............
คิดแล้วดูเฉลยตอนท้ายเลย.................................................



พญาช้าง = พระพุทธเจ้า...................................อึ้งป่ะ



เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนได้รู้ว่า....................................................

เกิดอยู่ชาติไหน เราก็เป็นอยู่ตามชาตินั้นๆ มีหน้าที่รับผิดชอบตามชาติที่เกิดมา แต่ก็ต้องพึงระวังว่า เราทำอะไรไว้ก็ต้องได้ผลอย่างนั้น