วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

โครงการศึกษาธรรมะ ตลท.: เริ่มนับ ๑ นับอาจารย์สุรวัฒน์

โครงการศึกษาธรรมะของพนักงาน ตลท
เริ่มนับ ๑ กับ อ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ห้อง ๑๑๐๔ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รัชดาภิเษก
จัดโดย ชมรมปฏิบัติธรรม และสโมสรพนักงาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

หลังจากฟังเทปของหลวงพ่อปราโมชย์ อาจารย์เองก็เรียนมาจากหลวงพ่อปราโมชย์ เมื่อก่อนเราพูดถึงเรื่องการปฏิบัติธรรม เราจะได้ภาพอะไรในใจ ภาพนั่งสมาธิ ภาพสวดมนต์ใส่บาตร เราจะคุ้นเคยอย่างนี้ อาจารย์เองก็เห็นภาพนั่งสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้ายก็เริ่มทำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ผิด เพราะเรายังไม่รู้เลยว่าจิตชนิดไหนเพื่อให้สงบ จิตชนิดไหนใช้เดินปัญญา พอปฏิบัติแล้วได้อ่านหนังสือพระอาจารย์สายวัดป่ามีฤทธิ์มีเดช เราก็อยากมีมั่ง เลยเดินหลงทาง

ครูบาอาจารย์ก็พยายามสอนแต่อย่างไรก็ไม่เข้าใจ การศึกษาธรรมะขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา ไม่ถึงเวลาก็ไม่รู้เรื่อง พอถึงเวลาก็เจอที่ถูกจริต ยิ่งเรามาทำงานวิ่งวุ่นทั้งวัน กลับบ้านก็เหนื่อย ก็เข้าสมาธิระดับฌานยังไม่ได้ แต่ต่อให้ได้ก็ไม่ใช่วิธีการในการดับทุกข์

สมัยพระพุทธเจ้าท่านก็ไปเรียนกับอุทกดาบส และอาฬารดาบส ท่านเรียนฌานสมาบัติแป๊บเดี๋ยวก็จบ ฌานสมาบัติมีมานานก่อนพุทธศาสนา แต่พระพุทธเจ้าก็เห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ท่านก็เอามาสอนเป็นพุทธศาสนา

อาจารย์ก็พยายามนั่งสมาธิมา ๑๑ – ๑๒ ปี ได้อย่างเดียวคือฟุ้ง นั่งพยักหน้าทำความเคารพตลอด จนกระทั่งได้เจอครูบาอาจารย์ หลวงพ่อไวย (?) ทำสมาธิลึกๆ ไม่ได้ ก็อยากได้แต่สมาธิลึกๆ นั่งหลับ นั่งฟุ้ง ก็อยากให้สงบก็ไปบีบไปคั้นมัน จนมีความรู้สึกว่ามีอะไรหนักๆ ในหัว นั่นคืออาการเครียด เพราะอยากให้มันสงบก็ไปบังคับมัน พอนั่งให้สบายๆ หน่อยก็หลับ จิตมันไม่เอาอะไรแล้ว

ตอนหลังมาเล่นอินเตอร์เน็ต ก็ไปเจอเวบไซต์ลานธรรม มีคนมาคุยธรรมะ เจอกระทู้คุณสันตินันท์ post ลงลานธรรม ค่อยๆ อ่าน รู้สึกว่าใจมันเบาสบาย เพราะท่านสอนให้มีสติ ให้รู้ ก็เริ่มเอะใจว่า ที่ทำมาไม่น่าจะใช่ พยายามทำตามแต่ไม่สำเร็จ ก็เลยไปเจอตัวจริง ตัวเป็นๆ โดยเริ่มจากเขียนอีเมล์ไปถามก่อน วันต่อมาท่านตอบมาว่า ที่ทำมาอยู่นะผิด นั่งตัวชาอยู่หน้าจอ เหมือนถูกตีแสกหน้า ทำมา ๑๐ กว่าปีนั่นผิด บางคนอาจไม่ยอมรับ แต่อาจารย์กลับอยากรู้ว่า ทำไมถึงผิด ท่านก็ตอบว่า เป็นการทำเพราะความอยาก ซึ่งความอยากเป็นสมุทัย สาเหตุแห่งทุกข์ ก็เลยทำให้เกิดความทุกข์ ดังนั้นก็จะพ้นทุกข์เป็นไปไม่ได้หรอก พออ่านจบ ก็ฟังได้นะ เป็นไปตามหลักเหตุผล หัวมันโล่งออกมาเลย รู้ว่าจิตใจเราไม่เหมือนเดิมแล้ว เลยคิดว่าน่าจะเป็นทางที่น่าปฏิบัติดู ก็ปฏิบัติมาอีกระยะนึง แต่ด้วยความเคยชิน จิตมันก็ไปตามนั่น

ฝึกให้คิดๆๆๆ จิตมันก็คิดๆๆๆ ด้วยความเคยชิน มันก็เป็นอย่างนั้น พยายามอยู่หลายวันก็ไม่โล่ง เลยไปเจอที่ศาลาลุงชิน ตอนนั้นท่าน (หลวงพ่อมาโมชย์) ยังไม่ได้บวช ก็ไปเดินถามกรรมการศาลาไม่มีใครรู้จัก มองเห็นเด็นวัยรุ่นนั่งล้อมวงอยู่วงนึง ก็เดินเข้าไปถามว่าใช่คุณสันตินันท์หรือเปล่า ก็เข้าไปแนะนำตัว บอกว่าที่เขียนอีเมล์ไปถาม ท่านก็พยักหน้าว่าจำได้ ท่านบอกให้นั่งลง ยังไม่นั่งลงเลย ท่านก็บอกว่า สุรวัฒน์ยังรู้สึกตัวไม่เป็นนะ เท่านั้นหน่ะก็เหมือนรู้สึกตัวเหมือนคนมาปลุกให้เราตื่นจากหลับมานานแสนนาน ก็โล่งมาแวบนึง เลยเป็นจุดเริ่มต้นมาเรียนแบบจริงๆ จังๆ ซึ่งท่านก็สอนให้รู้สึกตัวเป็นเบื้องต้น ถึงไปเจริญปัญญาเป็นลำดับไป
เริ่มที่หัดรู้สึกตัวให้เป็น หัดนับหนึ่งก็หัดเรียนรู้ตัวเองก่อน ตอนนี้จะตัดเรื่องศีล ทาน ออกไปก่อนเพราะเราพร้อมกันอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ได้ก็เริ่มซะวันนี้ ศีล ๕ ส่วนใหญ่จะยากข้อ ๔ ไม่ต้องไปเครียดมาก ให้ดูที่เจตนา พูดอะไรก็เลี่ยงๆ ได้ เพราะเราอยู่ในสังคม รักษาศีลของเราไป นึกได้มีสติ ศีลเราก็จะดี
มีไหมที่ชอบบี้มด ตบยุง ไม่เป็นไร เวลาเราผิดศีลไปแล้วทำอย่างไร เราต้องระลึกให้ได้ว่าเราทำผิดศีลไปแล้ว ที่ผ่านแล้วก็แล้วไป ถ้านึกแล้วเศร้าหมองเท่ากับทำผิดซ้ำสอง ทำผิดแล้วก็แล้วกันไปก็ก้มหน้ารับวิบากกรรมกันไป อย่าไปทำผิดซ้ำลงไปเยอะเยอะ เบื้องต้นผิดศีลกันธรรมดา รู้ทันบ่อยๆ ก็จะพัฒนาขึ้นมา ศีลก็จะดีขึ้น รักษาศีลดีที่สุดก็คือการมีสติ

นับ ต้องเริ่มจากมีสติ คือ ฝึกรู้ตัวกันไป หัดรู้สึกตัว มีพุทธพจน์ยืนยัน สติเป็นสิ่งจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ถ้าไม่มีสติจะพัฒนาไปรู้การเป็นพุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ได้ ดังนั้น เราไม่ต้องไปหัดอย่างอื่นให้วุ่นวาย ถ้าได้สติเราจะได้สัมมาสมาธิไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อเรามีศีล ศีลจะทำให้เรามีสติขึ้นมา เมื่อเรามีสติขึ้นไป เราจะมีความรู้สึกระงับยับยั้ง ดังนั้นเรามาเรียนมาตรงนี้ก่อน


คำว่า สติ เป็นคำที่ไม่สามารถเข้าใจได้ง่าย เราเข้าใจว่ามีสติ แต่เวลาไปฝึกกับครูบาอาจารย์บอกว่า ไม่มีสติ คือ สติทางโลก กับสติทางธรรมนั้นต่างกัน ถ้ามีสติไม่ฟั่นเฟือน วิกลจริต ก็คือเรามีสติในทางโลก แต่ในทางปฏิบัติธรรม ถ้าเรารู้สึกอยู่ที่กาย ใจ ตัวเอง ถ้ารู้สึกอยู่ข้างนอกก็ถือว่าไม่สติแล้ว  เวลาเราดูละคร จิตเราอยู่ที่ไหน จิตเราอยู่ที่จอทีวี ไม่รู้ตัวว่าเรานั่งอยู่ รู้ในทีวีหมด ละครใช้ชุดอะไรจำได้หมด อันนี้ไม่มีสติ อย่างขับรถบางทีก็ขับรถฝ่าไฟแดง เพราะมัวแต่สนใจเรื่องอื่น เราจะรู้เรื่องภายนอก อย่างนั่งฟังนี้ จิตใครหนีกลับบ้านไปแล้ว นี้คือ จิตหนีไปแล้ว

สติ คือ รู้อยู่กับตัวเอง รู้กาย รู้ใจ คำต่อไปที่ต้องเรียนรู้คือสมาธิ สมาธิไม่ได้แปลว่า จิตนิ่งเฉย ไม่ใช่สมาธิที่เจริญปัญญา แต่เพียงแค่สมาธิเพื่อพักผ่อนเท่านั้น เพราะไม่รู้เนื้อรู้ตัว ถ้าจิตเราตั้งมั่นเราจะไม่หลงไปเกาะกับสิ่งนั้น ดังนั้นสมาธิ คือภาวะที่จิตตั้งมั่น

เบื้องต้นก็คือการฝึกให้มีสติ และสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิที่นำไปใช้ในการเจริญปัญญา วันนี้จะมาฝึกสมาธิในแบบนี้เพื่อเจริญปัญญาได้
ส่วนอีกคำที่ต้องเข้าใจอีกคำ คือ สมถ ภาษาไทย แปลว่า สันโดษ มักน้อย แต่ สมถ แท้จริงแปลว่า จิตที่มีความตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว ต่อเนื่อง ถ้าเป็นวิปัสสนา จิตจะไม่รู้อารมณ์เดียวต่อเนื่อง เดี๋ยวก็เห็นจิตโกรธ เดี๋ยวก็เห็นจิตหลง เดี่ยวก็เห็นหายใจเข้า หายใจออก เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเห็นเหมือนๆ กันหมดเลยว่า จิตไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนที่เราสั่งได้ บังคับได้ เห็นอย่างนี้เรียกว่าเราเห็นไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ของรูปนาม กายใจของตนเอง นี้เป็นการเจริญวิปัสสนา
การคิดๆ ไม่ใช่วิปัสสนา จะกลายเป็นวิปัสสนึก

เราจะฝึกทำความรู้สึกตัว ฝึกอย่างไรดี ในชีวิตประจำวันเราก็ต้องฝึก ไม่ใช่รอกลับบ้าน ไอ้อย่างนั้นเรียกว่าการฝึกในรูปแบบ เราชอบสวดมนต์ ก็สวดมนต์ ชอบเดินจงกรมก็เดินจงกรม กำหนดไปเลยว่าทำวันละกี่นาทีก็แล้วแต่เราสะดวก  เวลาทำในรูปแบบ เป็นเวลาอยู่กับตัวเอง ปิดให้หมดทีวี มือถือ

หนังสือ ๒ เล่มก็ลองอ่านดู อ่านแล้วฝึกไปเรื่อยๆ ทดลองเลือกรูปแบบไหน


การฝึกในชีวิตประจำวัน เราก็ต้องฝึกตั้งแต่ตื่นนอนเลย สิ่งที่เราฝึกก็คือสติก่อน ก็ฝึกรู้สึกตัว เราอาจไม่รู้สึกการรู้สึกตัวที่แท้จริงเป็นอย่างไร เราต้องดูว่าเวลาเรารู้สึกตัวเป็นอย่างไร ขาดสติเผลอไปเป็นอย่างไร ถ้าเรารู้ว่าเราเผลอเป็นอย่างไร เราก็จะมีสติขึ้นมา เป็นวิธีการง่ายๆ ว่าเมื่อครู่เราเผลอไป ลืมตัวไป ถ้าเรานึกได้ แว่บนั่นเราจะกลับมามีสติแล้ว จิตจะกลับมาโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องรักษา ให้รู้ว่าเราเผลอบ่อยๆ เราก็จะมีสติบ่อยๆ

ฝึกยากไหม สังเกตออกไหม เวลาดูภาพบนจอ จิตเราไปอยู่ที่จอเห็นไหม เวลาเผลอ ขาดสติ ใจหนีไปคิด พอเรานึกได้ เราจะรู้สึกว่าเราหายไปจากโลกนี้ จิตควรอยู่ที่ตัวเอง แต่กลับอยู่ข้างนอก  มีบุคคลกลุ่มเดียวที่มีสติตลอดเวลานั่นคือพระอรหันต์ ส่วนพวกเรายังเป็นหันซ้ายหันขวาอยู่ เราก็หัดดูว่าเราลืมตัวอีกแล้ว
เราลืมตัวกับอะไรบ้าง ตัวดีเลยก็คือความคิด เวลาคิดก็ไหลไปในโลกแห่งความคิด เมื่อไหร่คิด มีภาพในหัว ตอนนั้นขาดสติทางธรรมไปหมดแล้ว นั้นความคิดสำคัญเพราะเห็นบ่อย อีกอันนึงคือ ไหลไปทางตา เวลาดูละครก็ดู จิตไหลไปในทีวี เราลืมอะไรไปหมด แม้ว่าอะไรอยู่ข้างทีวีเราก็ไม่รู้ จิตมันไหลไปกับภาพที่มองเห็น

หรือใครชอบฟังเพลง จมูกได้กลิ่น ก็เป็นลักษณะที่จิตลืมตัว หรือเวลากินกะไรอร่อยๆ กินไป ๒๐ คำแล้ว นึกขึ้นมาได้ แน่นท้องไปหมดแล้ว หัดสังเกตในชีวิตประจำวัน
หรือเดินมาแดดร้อน ใจมันหนีไปคิดอะไรหมดแล้ว เรามาหัดดูตรงนี้แล้วเราจะมีสติขึ้นมา

ที่น่ากลัว คือ กิเลส มี ๓ ตระกูล ราคะ/ โลภะ โทสะ โมหะ เมื่อไหร่เราขาดสติ กิเลสก็จะเกิดขึ้นมา ถ้าเราหัดดูจิตที่มีกิเลสได้ เราก็จะมีจิตขึ้นไป หัดอยู่อย่างนี้ มีเรื่องในชีวิตประจำให้ดูให้หัดกัน

เวลาหัดดู ก็ในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน เมื่อไหร่ที่ความรู้สึกตัวเองหายไป เมื่อไหร่ก็ขาดสติแล้ว แม้เวลาฟังธรรมก็ดูได้นะ เวลาหนีไปคิด เราจะไม่ได้ยินเสียง ก็แสดงว่าลืมตัวไป เราหนีไปคิด ต้องหัดดู พวกเราจะหัดดูความคิดได้ง่าย

ฝากการบ้าน ๑ ข้อ เวลาเข้าห้องน้ำลองดูตัวเองในกระจกจิตอยู่ที่ไหนแน่ ร้อยละร้อย จิตอยู่ในกระจกหมดเลย เช่น เห็นสิวเม็ดนึง เราก็วิ่งไปคาอยู่ในกระจก จิตไปอยู่ข้างนอก พอหันหลังกลับมา จิตมารู้ตัว มารู้ตัวบ่อยๆ

เวลาคิดเรื่องงานก็ปล่อยให้มันคิด แล้วเราก็หัดในชีวิตปกติ ครูบาอาจารย์บอกว่าวัดอยู่ที่ใจ ต่อไปจากนี้ไปสังเกต ให้กลับมารู้สึกตัวบ่อยๆ เหมือนเวลาคุยโทรศัพท์ จิตมันก็ไปอยู่กับเรื่องที่คุย ก็ลืมเรื่องอื่น ยิ่งเวลาขับรถ จิตเผลอออกไปก็จะเหยียบเบรกไม่ทัน

ถ้าเราไม่หัดรู้สึกตัว เราก็จะเผลอ ขาดสติตลอดวัน ตั้งแต่เช้าจนถึงเข้านอน ถ้าเราฝึกเราจะกลับมารู้ตัวตัวได้บ่อยขึ้น ยากไหม พูดไม่ออก บอกไม่ได้ว่าง่ายหรือยาก

ที่ยากเพราะเราพยายามที่จะไม่ลืมตัว จริงๆ ก็ปล่อยเผลอไป รู้สึกตัวขึ้นมา  เหมือนเวลาดูทีวี จิตเราก็ไปอยู่ในจอ จะรู้ตัวขึ้นมาก็เวลาทีวีตัดโฆษณา ก็จะรู้ตัวขึ้นมาว่าจิตไหลไปในทีวี

เมื่อไหร่รู้ตัวได้ ก็จะกลับมามีสติ เรียกว่า เป็นจิตของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่ใช้เจริญปัญญาขึ้นมาได้ แต่ในที่นี้เราก็เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแค่แว่บเดียว เดี๋ยวก็หาย เดี๋ยวก็หลง เห็นไปเรื่อยๆ เมื่อไหร่จิตมันแจ่มแจ้ง รู้ความจริงขึ้นไป หยุดหลง ขึ้นมา ก็จะบรรลุ แต่ยังไม่ต้องพูดถึงนิพพาน เดี๋ยวจะท้อแท้

ถ้าเราไม่พัฒนา จิตของเราก็มีแต่ตกต่ำ เพราจิตของเราเหมือนน้ำ จิตไม่ไหลทวนขึ้นมา เราอย่าปล่อยให้จิตไหลลงต่ำ ถ้าเราฝึกจิตไว้ก็เหมือนมีอะไรมาหนุนทวนขึ้นมาได้ เราจะมีปัญญาเกิดขึ้น และเราก็จะพ้นทุกข์หลุดออกไปได้ ไม่ต้องมาเกิดใหม่อีก

จิตที่ไหลลงต่ำไปที่ไหน ก็ไปอยู่ในภพภูมิอบาย จิตจะต่ำไปเรื่อยๆ รักตัวเองก็ตั้งใจฝืนกันหน่อย เราเป็นชาวพุทธเราต้องฝึกตัวเองขึ้นมาได้ พอฝึกเราก็จะเห็นว่าง่ายขึ้นมา อย่าฝืนจิตเอาไว้ เวลาจิตหลงรู้สึกว่าน่ากลัว ส่วนใหญ่พยายามรักษาสติ กลายเป็นเคร่งเครียด ต้องอยู่กับปัจจุบัน ลืมอีก ก็รู้เอาใหม่อีก ฝึกได้จริงหรือเปล่าค่อยว่ากัน

ต่อไปเป็นเรื่องสำคัญแล้ว เวลาฝึก จิตเรามีกิเลสเกิดตลอดเวลา เวลามีคนชวนไปวัด เคยได้ยินคนตอบว่า รอให้หมดกิเลสก่อน ถึงตอนนั้นก็ไม่ต้องไปวัดแล้ว เพราะมีกิเลสเราเลยต้องเข้าวัดไปฝึกหัด ขัดเกลากัน
ตอนที่เราลืมตัว กิเลสชวนไปทำกรรมชั่ว หน้าที่ของกิเลสชวนให้เราไปทำกรรมชั่ว กิเลสชวนไปทำกรรมดีก็มีนะ คือ อยากรวย เลยไปเข้าวัดทำบุญ แต่ทำแล้วไม่รวยสักทีก็โกงเอาดีกว่า ดังนั้นกิเลสมันพลิกไปทำกรรมชั่วได้ เมื่อเราทำกรรมชั่วไป เราก็รับวิบากกรรมไป ไม่ต้องไปแก้กรรม ไม่มีใครแก้ได้ พระพุทธเจ้ายังต้องชดใช้กรรม มีตอนนึงที่พระพุทธเจ้าอยากกินน้ำ ให้พระอานนท์ไปตัก พระอานนท์ไปตักเห็นน้ำขุ่นก็เลยบอกพระพุทธเจ้าว่าน้ำขุ่นเลยไม่ตักมา พระพุทธเจ้าก็ให้พระอานนท์ไปตักใหม่ น้ำใสจึงตักขึ้นมาถวาย พระพุทธเจ้าเลยเทศน์ให้ฟังว่า มันเป็นผลกรรมของพระพุทธเจ้า สมัยเป็นหัวหน้าพ่อค้าต้อนสัตว์เลี้ยงไปกินน้ำ แต่พอดีขบวนเกวียนผ่านมา น่ำขุ่น ท่านก็ต้อนสัตว์เลี้ยงขึ้นไม่ให้กินน้ำขุ่น แค่นี้ก็เป็นวิบากกรรมที่ท่านต้องชดใช้ ดังนั้นอย่าไปเชื่อว่าใครจะเก่งกว่าพระพุทธเจ้า แก้กรรมให้เราได้ เราก็ใช้หนี้ไปแบบมีสติ จะได้ไม่เร่าร้อน


กิเลสก็เป็นวิบากอย่างหนึ่ง หัดดูหัดรู้ว่าจิตใจเรามีกิเลสเกิดขึ้น สำรวมกาย วาจา ใจ ไว้ก่อน โกรธก็สำรวมมือไม้ไว้ก่อน สีหน้าแสดงได้ตามสมควรเพราะปิดไม่มิด เวลาโกรธมันจะออกสีหน้า แววตา ไม่ต้องไปฝืนขนาดนั้น แล้วก็ดูจิตที่มีกิเลสซะ ถ้ามันแรงไม่ไหวจะลุกขึ้นตบก็ใช้วิธีลุกออกไปจากสิ่งแวดล้อมตรงนั้น ให้ใจคลายไปก่อน เราต้องใช้วิธีหลบกันเพราะเรายังฝึกไม่พอ ถ้าหลบไม่ได้ กลยุทธ์อะไรมีที่ทำให้สำรวมกายใจก็นำออกมาใช้ก่อน เช่น อาจารย์ตอนเด็กๆ พ่อแม่ให้นับ ๑ ถึง ๑๐ หากนับร้อยนับพันยังไม่หาย ก็หันไปสนใจเรื่องอื่น หรือหันไปคิดเรื่องบวกไว้ก่อนเลย แต่เรื่องคิดบวกก็ช่วยได้เป็นกรณีเป็นครั้งคราวไป ไม่ถาวรแต่ช่วยได้ชั่วครั้งชั่วคราว

แต่ถ้าเรามีสติ เราดูลงไปเลย ดูจิตที่มีกิเลสนี่แหละ เดี๋ยวมันก็วึ้บหายไปกับตานี้ ถ้าใครเคยดูนะ เวลาโกรธมันจะขึ้นมาเร็วมากเลย เหมือนไม้ขีดไฟ ที่จุดปุ๊บลุกฟู้ขึ้นมาเลยแล้วก็ค่อยๆมอด ค่อยมอดๆ ดับไป ต่อหน้าต่อตาเลย
พระพุทธเจ้าสอนให้ดูถึงจิตใจตนเอง ทุกสิ่งเกิดมาย่อมมีดับได้ ไม่ได้อะไรเที่ยงแท้ถาวร เวลาเรามีกิเลสเราเรียนรู้มันได้ อาศัยกิเลสนี่หล่ะเป็นเครื่องขัดเกลาตนเอง เราพอพิจารณาไปก็จะเห็นว่าเราเปลี่ยนไป ลองดูนะคนที่มาเรียนวิธีนี้ ไปบอกหลวงพ่อประจำว่า ตนเองเปลี่ยนแปลงไป

อีกอย่างเวลาในชีวิตประจำวัน เรื่องของความเจ็บปวด ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น จิตมันทุรนทุราย ยอมรับไม่ได้ เพราะจิตไปจมแช่เวทนาที่เกิดขึ้น แล้วปรุงแต่งเวทนาที่เกิดขึ้น เวลาเราสู้ไม่ไหวอย่างไปดูมัน ตอนปวดหัวดูก่อนว่าเป็นไง ไม่ต้องสู้มัน ไปหยิบพารามา 2 เม็ด แล้วค่อยดูว่าอาการเวทนาที่ค่อยๆ คลายทางกาย แล้วดูสิว่าจิตใจของเราเป็นอย่างไร จิตมีความสุขขึ้นมาแล้ว จะเห็นว่าจิตใจเราเปลี่ยนแปลงเกิดดับตลอดเวลา

เวลาทุกขเวทนาทางกายมีการรักษาทางการแพทย์ก็รักษาไป ไม่ใช่ฝืนทน เป็นการเบียดเบียนตนเอง รักษาไป ดูจิตดูใจไป ดูเวทนาไป พระพุทธเจ้าสอนให้ดูเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็จบไป

พระอาจารย์บางท่านสอนให้ดูเวทนาไป เวลานั่งแล้วชา ดูไปเรื่อยๆ อาการชามันก็หายแว๊บไป แต่น้อยคนจะทำได้อย่างนั้น ส่วนใหญ่ไม่รอด หากเราอดทนดูเวทนาไม่ได้ ก็เปลี่ยนท่า ค่อยๆ ยกขา จะเห็นเลยมาชามันหายไป จิตสบายใจขึ้น เห็นไตรลักษณ์ เห็นการเปลี่ยนแปลงกาย ใจ ก็เหมือนเป็นแต้มไปเรื่อยๆ ปัญญาก็จะเริ่มพัฒนา (เวทนาเปลี่ยน กายเปลี่ยน จิตเปลี่ยน)
มีหลากหลายวิธีการ แต่มีพื้นฐานเหมือนกัน คือ มีสติ มีจิตตั้งมั่น แล้วก็ทำไป
เวลาฝึกสติ มีผลพลอยได้ ก็คือ มีการสติแบบอัตโนมัติ มีสติเกิดขึ้นได้เอง เราสามารถรักษาได้อย่างดีมาก มีองค์ประกอบผิดศีล แต่สติระลึกได้ไม่ทำ เกิดเป็นอินทรีย์สังวรศีลเกิดขึ้น
เวลามีสติรู้ตัวบ่อยๆ จะมีปกติสุขมากขึ้น แค่มากขึ้นเพราะเรายังมีวิบากอยู่ ตรงนี้แหละที่เรียกว่า สติเป็นเครื่องคุ้มครองจิต เอาไปใช้เวลามีเรื่องหนักๆ เกิดขึ้นได้ เวลาพิสูจน์ชัดเจน เวลาเกิดอุบัตเหตุ เวลารถจะชนเกิดภาพสโลว์โมชั่น มันจะทำให้จิตกับมาตั้งมั่น มีสติ แต่ถ้าถึงเวลาก็ช่วยไม่ได้นะ
เวลาเราทำงาน ก็จะช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้น เสร็จเร็วขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น

ฝึกสติบ่อยๆ  ทางโลกเราก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในทางธรรม เอาจิตที่ตั้งมั่น เป็นสัมมาสมาธิเอาจิตมาเรียนรู้ตนเอง รู้ไตรลักษณ์ของตนเอง


หมายเหตุ: ไม่ได้ถอดความแบบ Word By Word